การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ:กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เครือวัลย์ โควินทะสุด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลซำสูง จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, ระยะฟื้นฟูสภาพ, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะฟื้นฟูสภาพ กรณีศึกษา  2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะฟื้นฟูสภาพ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลซำสูง ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2566 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย  ผู้ป่วย และญาติ โดยใช้แนวคิด 11 แบบแผนของกอร์ดอน ทำการรวบรวม สรุป นำสู่การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 69 ปี  อาการสำคัญ ซึมลง แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง การวินิจฉัย Acute Ischemic stroke (Stroke fast track; S/P rt-PA) โรคร่วมคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัลไซเมอร์ หลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ไม่พบภาวะเลือดออก ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อฟื้นฟูสภาพที่โรงพยาบาลซำสูง แรกรับประเมิน Glasgow coma scale(GCS) E3V4M6 แขนขาซ้ายอ่อนแรง Motor power ด้านซ้าย grade 3 ด้านขวา grade 4,  Modified Rankin Scale; MRS = 5 คะแนน ขณะรักษามีปัญหาที่พบคือแขน ขาด้านซ้ายอ่อนแรง ช่วยเหลือตนเองได้น้อย รับประทานอาหารได้น้อย ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาและการฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 5 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อน อาการดีขึ้นตามลำดับ ประเมิน Glasgow coma scale(GCS) E4V5M6, Modified Rankin Scale; MRS = 3 คะแนน สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 79 ปี อาการสำคัญแขนขาด้านขวาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด การวินิจฉัย Acute Ischemic stroke โรคร่วมคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รับส่งต่อจากโรงพยาบาลขอนแก่นเพื่อมาฟื้นฟูสภาพที่โรงพยาบาลซำสูง แรกรับประเมิน Glasgow coma scale(GCS) E4V5M6 มีแขนขาด้านขวาอ่อนแรง Motor power ด้านขวา grade 0 ด้านซ้าย grade 4, Modified Rankin Scale; MRS = 5 คะแนน ขณะรักษามีปัญหาที่พบคือแขน ขาด้านขวาอ่อนแรง ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ พูดไม่ชัด ท้องผูก ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาและการฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 3 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อน อาการดีขึ้นตามลำดับ ประเมิน Glasgow coma scale(GCS) E3V4M6, Modified Rankin Scale; MRS = 4 คะแนน สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้

References

กฤษณา พิรเวช. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ใน: ดุชใจ ชัยวานิชศิริ และ วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552. หน้า 165-185.

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กองโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. [cited 2023. Dec 24 ]. Available from:http://www.thaincd.com/2016.

กลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลซำสูง.รายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2564-2566 ขอนแก่น: โรงพยาบาลซำสูง. 2566.

กรรณิการ์ รักษ์พงษ์สิริ. ศึกษาประสิทธิผลในการให้ยาละลายลิ่มเลือด(rt-PA) ในผู้ป่วย Stroke Fast track เปรียบเทียบระหว่างระยะเวลาให้ยา Door to needle time ใน 30 นาทีแต่ไม่เกิน 60 นาทีในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม 2565. [cited 2023. Dec 24 ]. Available from:https://nkphospitaljournal.wordpress.com/2022/02/25

ราตรี สุดทรวง. ประสาทสรีรวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550

ศิริอร สินธุ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. นนทบุรี: ยิ้มการพิมพ์. ๒๕๖๕.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย; 2023; 39(2): 39-46.

American Heart Association. ๒๐๒๓ Heart Disease and Stroke Statistics Update Fact Sheet. 2023. [cited 2023. Dec 18 ]. Available from: https://professional.heart.org/-/media/PHD-F.

Craig LE, Wu O, Bernhardt J, Langhorne P. Approaches to Economic Evaluations of Stroke Rehabilitation. Int J Stroke off J Int Stroke SOC, 2014; 9:88-100.

Feigin v, Brainin M , Norrving B, Martins S, Sacco5 R., Hacke W., et al. World Stroke Organization (WSO). Global Stroke Fact Sheet 2022. International Journal of Stroke; 2022; 17(1): 18-19.

Kakkad A. and Rathod, P. Factors affecting Recovery after Stroke: A Narrative Review. Indian Journal of Physiotheraphy and Occupational Therapy; 2018;12(4): 22-27.

Pu, L., Wang, L., Zhang, R., Zhao, T., Jiang, Y and Han, L. Projected Global Trends in Ischemic Stroke Incidence, Deaths and Disability-Adjusted Life Years From 2020 to 2030. Stroke; 2023; 54(5): 1330-1339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29