การพัฒนารูปแบบแผนการบริหารจัดการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ในห้องส่องกล้อง หน่วยตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • นัชชา เพิ่มสุภัคกุล -
  • เสาวณีย์ กรุณา

คำสำคัญ:

แผนการบริหารจัดการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบ 2 กลุ่มวัดก่อนหลัง (two-group pretest-posttest design) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 37 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 37 กลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ ความรู้และการปฏิบัติจัดการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักความวิตกกังวลและความพึงพอใจในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักแบบบันทึกการประเมินระดับความสะอาดของลำไส้เก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ ใช้ paired samples test และ Independent t-test
     ผลการศึกษาพบว่า
     ผลการเปรียบเทียบความรู้ของของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมกลุ่มทดลองมีความรู้หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
ทางทวารหนักของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความสะอาดของลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่ จะมีความสะอาดของลำไส้ ในระดับดีมาก (excellent) ร้อยละ 89.2 ส่วนกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ จะมีความสะอาดของลำไส้ ในระดับดี (good) ร้อยละ 62.2
     ผลการเปรียบเทียบระดับความสะอาดของลำไส้ใหญ่ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความสะอาดของลำไส้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรพัชชา คล้ายพิกุล, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์.(2561).ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีที่ 21 ฉบับที่ 42 มกราคม - มิถุนายน 2561

จงดี ปานสุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ(2565).ได้ศึกษาผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความสะอาดของลำไส้และความวิตกกังวล ในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม สืบค้นวันที่ 1กันยายน/2566 จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/255197

ธนานันต์ อาสนานิฬ.(2564).การพัฒนารูปแบบการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ก่อนการตรวจส่องกล้อง ลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ในผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลหนองคาย.สืบค้น วันที่ 1มิถุนายน 2566 เวลา10.00น.จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/253299

ธนพล ไหมแพง.(2546) Carcinoma of Esophagus.ใน:สัทธจิตร ลีนานนท์,วิชัย วาสนาสิริ, สุมิต วงค์เกียรติขจร,วัชรพงษ์ พุทธิสวัสดิ์, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 23. Current Practice in Clinical Surgery. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท โฆษิตการพิมพ์ จำกัด

วีรศักดิ์ ว่องไพฑูรย์, เกรียงไกร อัครวงศ์ และทองดี ชัยพานิช. (2533) วิวัฒนาการในโรคระบบทางเดินอาหาร. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร. ศศิธร มงคลสวัสดิ์; 2553

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และอภิญญา จำปามูล. (2550). สมรรถนะผู้นำทางการพยาบาล ใน ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการการพยาบาล หน่วยที่ 12 หน้า 7-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ, สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และวิพร เสนารักษ์ (บรรณาธิการ).(2550). กระบวนการพยาบาล ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 16). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29