การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะโลหิตจางในโรงพยาบาลสกลนคร : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นลินี การุญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาลงานรักษาพิเศษ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

คำสำคัญ:

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะโลหิตจาง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะโลหิตจางในโรงพยาบาลสกลนคร กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะโลหิตจางและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาอีริโธรพอยอิตินได้ และในรายที่ไม่สามารถให้ยาอีริโธรพอยอิตินได้ จำเป็นต้องมีการให้เลือดแทน ที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร โดยศึกษาประวัติผู้ป่วย การรักษาพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม และใช้แบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
     ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่1 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 80 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูง มามากกว่า 10 ปี ไตวายเรื้อรังประมาณ 1 ปีทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 ครั้ง/สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ขณะทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมค่า Hct 22-24% ได้รับ PRC 1 Unit ตามแผนการรักษาของแพทย์ในแต่ละครั้งที่มาฟอกเลือด มีการประเมินและให้การพยาบาลไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วย เพศชาย อายุ 45 ปี เป็นโรคโรคไขกระดูกฝ่อ มาประมาณ 10 ปี และไตวายเรื้อรังประมาณ 1 ปี ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 ครั้ง/สัปดาห์ ค่า Hct 17-22% ได้รับยา Erythropoietin 8,000 Unit และมีการประเมินและให้การพยาบาลไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2558). Nephrology review of internist. ใน: ไกรวิพร เกียรติสุนทร,บัญชา สถิระพจน์, ขจร ตีรณธนากุล, พงศธร คชเสนี, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจเนอรัล.

หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร.(2566). ทะเบียนข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร. สกลนคร: หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร; 2566.

คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย (TRT) สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2559). ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2562. กรุงเทพฯ:

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย(2563).แนวทางการรักษาด้วยฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ในคู่มือการรักษาด้วยฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต. กรุงเทพฯ

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2561). การพยาบาลผู้ป่วยโรคฉี่หนูที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการฟอกเลือด. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 105 เครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย. ว. วิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2563;3(1): 93–105.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2557). Essentail in Hemodialysis. ใน: พงศธร คชเสนี, ขจร ตีรณธนากุล, ทวีชาญชัยรุจิรา, ธนันดา ตระการวนิช, ทวีพงษ์ปาจรีย์, เกรียงศักดิ์วารี แสงทิพย์, บรรณาธิการ.กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล.

วรางคณา พิชัยวงศ์.(2562). โรคไตจากเบาหวาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://nursing62.blogspot.com/2019/09/11.html

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2556). Hemodialysis renal replacement therapy. ใน: สมชายเอี่ยมอ่อง,ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, ขจร ตีรณธนากุล, เกรียง ตั้งสง่า, เกื้อเกียรติประดิษฐ์พรศิลป์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีย์วรรณ รัตนกิจสุนทร.(2563). การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากยากลุ่ม. ว. วิทยาลัยพยาบาล พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563 ; 3(1) 95–104.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สกานต์ บุนนาค และวรางคณา พิชัยวงศ์. (2557). โรคไตเรื้อรัง(Chronic Kidney Disease: CKD). สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม 2564 จาก.https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_9.pdf.

กัญจวรา บุญสร้างสม. (2563). สถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรัง. สืบค้น วันที่ 10 ธันวาคม 2564 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29