การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหารที่ได้รับรังสีรักษาที่เกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบติดเชื้อ ร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว ชนิดเต้นเร็ว
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร, ปอดอักเสบติดเชื้อ, ภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว ชนิเต้นเร็วบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลและพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาที่เกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบติดเชื้อร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ชนิดเต้นเร็ว จำนวน 1 ราย โดยศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของกรณีศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ข้อมูลการรักษาของแพทย์ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย สรุปข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย จากการเยี่ยมการพยาบาลผู้ป่วยตามหลักของกระบวนการพยาบาล และสรุปกรณีศึกษาอภิปรายผล โดยนำทฤษฎีการพยาบาล แนวคิดทฤษฎีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยกรณีศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม1 และแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต FASTHUG และ BANDAGE มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยและดำเนินการติดตามให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง หลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย อายุ 54 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้รังสีรักษา Plan RT 5000 cGy/25Fx. ต่อมาผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างได้รับรังสีรักษา ได้แก่ ปอดอักเสบติดเชื้อร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือดและมีภาวะหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ชนิดเต้นเร็ว หลังได้รับการรักษาผู้ป่วยสามารถฉายรังสีต่อได้จนครบ และกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
References
Orem DE, Nursing: Concepts of Practices. 6th ed. St. Louis: Mosby Year Book; 2001.
Ferlay J, Shin HR, Bray F, Forman D, Mathers C, Parkin DM. Estimates of worldwide burden of cancer in 2008: GLOBOCAN 2008. Int J Cancer 2010; 127: 2893–917.
Jemal A, Siegel R, Ward E, Hao Y, Xu J, Thun MJ. Cancer statistics, 2009. CA Cancer J Clin 2009; 59: 225–49.
Enzinger PC, Mayer RJ. Esophageal cancer. N Engl J Med 2003; 349: 2241–52.
Lepage C, Rachet B, Jooste V, Faivre J, Coleman MP. Continuing rapid increase in esophageal adenocarcinoma in England and Wales. Am J Gastroenterol 2008; 103: 2694–99.
Pohl H, Welch HG. The role of overdiagnosis and reclassification in the marked increase of esophageal adenocarcinoma incidence. J Natl Cancer Inst 2005; 97: 142–46.
Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, et al. Cancer in Thailand. Volume VIII, 2010-2012
Lagergren J, Bergstrom R, Lindgren A, Nyren O. The role of tobacco, snuff and alcohol use in the aetiology of cancer of the oesophagus and gastric cardia. Int J Cancer 2000;85:340-346.
Engel LS, Chow W-H, Vaughan TL, et al. Population attributable risks of esophageal and gastric cancers. J Natl Cancer Inst 2003;95:1404-1413.
Freedman ND, Abnet CC, Leitzmann MF, et al. A prospective study of tobacco, alcohol, and the risk of sophageal and gastric cancer subtypes. Am J Epidemiol 2007;165:1424-1433
Turati F, Tramacere I, La Vecchia C, Negri E. A meta-analysis of body mass index and esophageal and gastric cardia adenocarcinoma. Ann Oncol 2013;24:609-617.
Lagergren J, Lagergren P. Recent developments in esophageal adenocarcinoma. CA Cancer J Clin 2013;63:232-248.
Cossentino MJ, Wong RK. Barrett's esophagus and risk of esophageal adenocarcinoma.Semin Gastrointest Dis 2003;14:128-135.
Cameron AJ, Romero Y. Symptomatic gastro-oesophageal reflux as a risk factor for oesophageal adenocarcinoma. Gut 2000;46:754-755.