ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยสำหรับตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน ห้องตรวจคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ไคลศรี บาดาล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย
  • พัทยา นิลเกตุ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

รูปแบบการเตรียมผู้ป่วย, การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน, ความวิตกกังวล, ความสามารถในการปฏิบัติตน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยสำหรับตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน คลินิกพิเศษ โรงพยาบาลหนองคาย ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2566 ถึง เดือน มกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคจากอายุรแพทย์โรคหัวใจให้เข้ารับการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานเป็นครั้งแรก ไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อน มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ สามารถติดต่อสื่อสารได้ และยินยอมให้ความร่วมมือ จำนวน 60 คน และแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญและแบบวัดความสามารถในการปฏิบัติตน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent t-test และ Paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยสำหรับตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและมีความสามารถในการปฏิบัติตนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกรียงไกร เฮงรัศมี. (2560). มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. พิมพ์ครั้งที่5 .สถาบันทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: บริษัทสุขุมวิทย์การพิมพ์ จำกัด.

กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์. (2566). NEW PARADIGMS IN CARDIOVASCULAR MEDICINE. หน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

นราวุฒิ ประเสริฐวิทยากิจ. (2565). Syncope. หน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 11. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พรรณนิภา สุวรรณสม. (2565). FILLING THE GAP OF PRACTICE WITH NEW EVIDENCE. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological. reviews, (84)2, 191-215.. (1986). The explanatory and predictive scope of self-efficacy theory. Journal of social and clinical psychology, 4(3), 359-373.

Leventhal, H. & Johnson, J. E. (1983). Laboratory and field experimentation development of a theory of self-regulation. In Wcoldridge, P. T., Schmitt, M. H., Leonard, R. C. & Skipper, J.

K. (Eds). Behavioral Science and Nursing Theory. (pp189-262). St. Louis: The C. V. Mosmy.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29