การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ระเบียบ วัฒนตรีภพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์, ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์ ที่เข้ารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลบรบือ ตั้งแต่ระยะผู้ป่วยมีภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์แบบฉุกเฉิน (Acute care) ระยะดูแลต่อเนื่อง ระยะฟื้นฟูและการวางแผนจำหน่าย โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน การประเมินอาการ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย นำข้อมูลมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล และมีการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
     ผลการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์กรณีศึกษา 2 ราย ที่ได้รับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยในชาย  โรงพยาบาลบรบือ ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566 จากกรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 34 ปี ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน มีอาการเกร็งตาลอยหลังหยุดดื่มแอลกอฮอล์ 1 วันขณะเข้ารับการรักษามีอาการถอนพิษแอลกอฮอล์ อาการมือสั่น วุ่นวาย กะสับกระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง ความรุนแรงระดับปานกลาง ได้รับการรักษาด้วยยาคลายกังวล ยาบำรุงสมองและการบำบัดด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้ป่วยอาการสงบ สามารถควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมและกลับไปอยู่กับครอบครัวได้ กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 34 ปี ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน มีอาการชักเกร็งที่บ้าน 4 ครั้ง หลังหลุดดื่มแอลกอฮอล์ 1 วัน มีโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำร่วมกับแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำ ผู้ป่วยมีอาการอาละวาด เอะอะโวยวาย ผุดลุกผุดนั่ง มีอาการหูแว่วเห็นภาพหลอน อยู่ไม่นิ่ง เดินไปเดินมา พูดบ่นอยู่คนเดียว ความรุนแรงระดับรุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาคลายกังวลยาบำรุงสมองและการบำบัดด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจ บำบัดรักษาด้วยยาต้านโรคจิตชนิดยาฉีด ยาควบคุมอารมณ์ ยาคลายกังวลยาบำรุงสมองและการบำบัดด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้ป่วยอาการสงบ สามารถควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมได้แต่ยังควบคุมอารมณ์ได้น้อยกว่ากรณีศึกษาที่ 1 เข้ารับการรักษานานกว่าจนควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้เหมาะสมและกลับไปอยู่กับครอบครัวได้

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. พรอสเพอรัสพลัส.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). หลักสูตรการให้การดูแลผู้ป่วยสุราและแอมเฟตามีนที่มีปัญหาด้าน จิตเวช สำหรับพยาบาล.

กฤตยา แสวงทรัพย์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ และ สุนิศา สุขตระกูล. (2562). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่มีปัญหาการดื่มสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(2), 122-136.

นิติยา ตากวิริยะนันท์.(2559). พยาบาลผู้ที่ได้รับยาทางจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์.

ผ่องศรี งามดี. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง : กรณีศึกษา. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น, 2(2), 265 – 279.

รุ่งทิวา พลอยสุวรรณ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความผิดปกติทางจิตอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา : กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(4), 176 – 188.

พรศิริ พันธศรี. (2560). กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก.(พิมพ์ครั้งที่19) กรุงเทพฯ.ห้างหุ่นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร.

เพียรดี เปี่ยมมงคง. (2553). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร จำกัด.

เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. (2554). การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขไทยธรรมาธิราช.

เอกอุมา อิ่มคำ. (2551). การพยาบาสุขภาพจิตและจิตเวชการประยุกต์ใช้กรณีเลือกสรร. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์.

Andreasen NC ,Flaum M. Schizophrenia : the characteristic symptoms. Schizophr bull 1991;17:27-49

Black DW, Yates WR, Adreasen NC. Schizophrenia, schizophreniaform disorder, and delusional disorder. In: Talbott JA, Hales RE, Yudofsky Sc, eds,American Psychiatric Press,1994:411-61.

Kane JM, Marder Sr. Psychopharmacologic treatment of schizophrenia. Schizophr Bull 1993; 19: 287-302

Mellor CS. First rank symptoms of schizophrenia, Br J Psychiatry 1970;117:15-23

World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioral disorder. Geneva: World Health Organization, 1992: 86-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29