การพยาบาลมารดาครรภ์แฝดหลังผ่าตัดคลอดที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรพิน ตันมงคล -

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตสูงรุนแรงขณะตั้งครรภ์, ครรภ์แฝด, ผ่าตัดคลอด

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลของมารดาที่มีความเสี่ยงและความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง โดยผ่านกรณีศึกษา 1รายที่เข้ารับการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษ 5ก โรงพยาบาลราชวิถี วิธีการศึกษา: ศึกษามารดาหลังคลอดที่มีครรภ์แฝด และมีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงจำนวน 1ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นเวชระเบียนมารดาหลังคลอด คือ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ การพยาบาล ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ
     จากการศึกษามารดาหลังคลอดครรภ์แรกตั้งครรภ์แฝด อายุครรภ์37+3สัปดาห์ มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงภายหลังผ่าตัดคลอดมีปัญหาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีและมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในร่างกายไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดและขาดความรู้ในการดูแลตนเองและทักษะในการเลี้ยงดูบุตรเนื่องจากตั้งครรภ์ครั้งแรกบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลหญิงตั้งครรภ์แฝดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงพยาบาลผู้ดูแลมารดาระยะหลังคลอดจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ทักษะความชำนาญ ด้วยการประเมินที่รวดเร็วนำไปสู่การวินิจฉัยการวางแผน และปฏิบัติการพยาบาลที่ครบถ้วน มีการประเมินซ้ำ และพบว่ากรณีศึกษานี้ มารดาหลังคลอดให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลและดูแลตนเองเป็นอย่างดี จึงทำให้ผ่านภาวะวิกฤติได้อย่างปลอดภัย สามารถจำหน่ายมารดากลับบ้านพร้อมบุตรได้ภายใน 4วันของการคลอด

References

เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ และธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัทลักษมีรุ่ง จำกัด: 2555; 309-320.

สมชาย ธนวัฒน์นำเจริญ. การตั้งครรภ์แฝด ใน: เยื้อน ตันนิรันดร, วรพงศ์ ภู่พงศ์, เอกชัย โควาวิสารัช, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด; 2555. หน้า 75-87.

Pillitteri A, Maternal & child health nursing: Care of the childbearing & childrearing family (7thed.): China: Lippincott Williams & Wilkins; 2014.

ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์. การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 3: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: 2555.

นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง. การพยาบาล และการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: บริษัทสมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จ้ากัด; 2561.

รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์ และสุชยา ลือวรรณ. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in pregnancy). คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

ปัญญา สนั่นพานิชกุล. ความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษในปัจจุบัน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า; 2558

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพ: พิมพ์อักษร; 2562.

สายลม เกิดประเสริฐ. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์. ใน: เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, และณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์, บรรณาธิการ, ก้าวหน้าไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น; 2560. หน้า 129-134.

ภัทรวรรณ หลิ่มศิริ. โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก. ใน: วิทยา ถิฐาพันธ์, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, และกนกวรุณ วัฒนนิรันตร์, บรรณาธิการ, ภาวะวิกฤติทางสูติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. (ฉบับแก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2562. หน้า 161-171.

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. การพยาบาลมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: เอส.พี.เอส.พริ้นติ้ง; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29