การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปิยะรัตน์ จันทร์ส่อง ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี Corresponding author

คำสำคัญ:

รับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ด้านสุขภาพ ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บแบบสอบถามกับผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ ระหว่างเดือน 15 ธันวาคม 2563  ถึง 30 กันยายน 2564  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson)
     ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.8 และ ระดับปานกลาง ร้อยละ 36.7  รับรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงร้อยละ 15.6 เท่านั้น เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง พบว่า  มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.4 และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 42.2 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี  พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.144, p-value = 0.175)

References

อมรา ทองหงษ์,กมลชนก เทพสิทธา,และภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์.[อินเตอร์เนต].2555. [เข้าถึงเมื่อ20ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก :http://apheit.bu.ac.th.บทความวิจัย_3_paper198.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.โรคความดันโลหิตสูง. [อินเตอร์เนต]. 2558.[เข้าถึงเมื่อ20ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาก :http:/thaihypertention.org.information.html

สาธารณสุข.กระทรวง กรมควบคุมโรค กองไม่ติดต่อ.ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ.[อินเตอร์เนต]. 2558.[เข้าถึงเมื่อ20ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จากhttp://thaincd.com/document/file/download/leaflet/pdf

Benjamin,S Bloom.1986.’Learning for mastery’.Evaluation comment.Center for the study of instruction program.University og California at Los Angeles.Vol2:47-62.

Becker.H.M.(1974). The Health belief Model and Preventive Health Behavior.Health Education Monographs.2,4 winter:354-385.

Thorndike.R.M.1978.Correlational procedure for research.New York:Gardner Press.

สมชาย รัตนทองคำ.การวัดและประเมินผลทางการศึกษา.[อินเตอร์เนต]. 2556.[เข้าถึงเมื่อ21ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จากhttp://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/13eva56.pdf

หนึ่งนุช บุญเรืองและสายสุนีย์ สีก๊ะ. การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ปุวยความดันโลหิตสูงชนิด ไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลสองแคว จังหวัดน่าน.[อินเตอร์เนต]. 2556.[เข้าถึงเมื่อ20ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาhttps://wwwnno.moph.go.th/research/index.php/2556/item/72-2556-72.

อุมาพร ปุญญโสพรรณ ,ผดุงศิลป์ เพิงมาก และ จุฑามาศ ทองตำลึง. (2554). การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทอง ในตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [อินเตอร์เนต]. 2554.[เข้าถึงเมื่อ20ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้ http://thaidj.thaidj.org/index.php/PHCD/article/view/2695.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29