การพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้แต่ง

  • เกษา นาสวน Professional Nurse Specialist, Nakhon Pathom Hospital, Nakhon Pathom Province
  • สมปอง ใจกล้า Advanced Practice Professional Nurse, Nakhon Pathom Hospital, Nakhon Pathom Province
  • กันตินันท์ สอดสุข Professional Nurse Specialist, Nakhon Pathom Hospital, Nakhon Pathom Province

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดบริการพยาบาล, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และ ศึกษาประสิทธิผลจากการใช้รูปแบบ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 65 คน ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้พยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบประเมินการรับรู้ของพยาบาลต่อประโยชน์ของรูปแบบ  และแบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Simple pair t-test
     ผลการศึกษา พบว่า 1.รูปแบบการจัดบริการพยาบาลแบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แผนผังและแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และคู่มือพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับสอนงานพยาบาลน้องเลี้ยงในการดูแลผู้ป่วยฯ มีค่า IOC เท่ากับ 0.85 และ 0.88 ตามลำดับ 2. ผลของรูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่พัฒนาขึ้นพบว่า ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลมุ่งเป้าใน 1 ชั่วโมง ได้รวดเร็วขึ้น และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการรับรู้ของพยาบาลต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการดูแลผู้ป่วยในระยะหลังการทดลองใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์ชุดโครงการวิจัยเพื่อการประเมินและพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: 2552 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/commed/sites/default/files/public/pdf/hs1811.pdf

ปรเมษฐ์ อินทร์สุข, เชษฐาฤทธิ์ บริบูรณ์. บทบาทของพยาบาลในการจัดการภาวะพิษเหตุติดเชื้อตามแนวปฏิบัติภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม2566]; ปีที่49:376-389. เข้าถึงได้จาก:https://cmudc.library.cmu.ac.th/ frontend/ Info/item/dc:160866

สมพร รอดจินดา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน [ปริญญานิพนธ์]. นนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2561

ทิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่.เชียงรายเวชสาร.2562;11(1)

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, et al; Surviving Sepsis Campaign Guidelines Committee Including the Pediatric Subgroup. Surviving Sepsis Campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care Med. 2013; 41(2): 580-637

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://citly.me/VpvhA

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดขึ้นจากสาเหตุใด [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2021/what-causes-sepsis 17

ดนัย อังควัฒนวิทย์. อะไรคือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ. ฉบับที่ 23 มกราคม 2559[อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม2566]. เข้าถึงได้จาก:https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue023/health-station

ภูมินทร์ ดวงสุริยะ, กุลิสรา ขุนพินิจ. เครื่องมือทำนายความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน. วารสารพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]; ปีที่72:60-70. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/TJN/article/view/259629/179821

Evans, L., et al. (2021). Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Medicine, 47(11), 1181–1247. https://doi.org/10.1007/s00134-021-06506-y

ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ, สุนันญา พรมตวง และจันทนา แพงบุดดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดด้วยระบบทางด่วน โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]; ปีที่6:36-51. เข้าถึงได้จาก:

file:///C:/Users/Jim/Downloads/apnj,+Journal+manager,+Vol.6+No.1+Jan-June+pp.36-51.pdf

เชิดชัย กิตติโพวานนท์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ และหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]; ปีที่5:219-233. เข้าถึงได้จาก:https://so03.tcithaijo.org/index.php/PCFM/article/view/262476/175286

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2566]; ปีที่5:27-43. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Jim/Downloads/9945-Article%20Text-14999-1-10-20210421.pdf

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลนครปฐม. (2565). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลนครปฐม. นครปฐม: ฐานข้อมูลผู้ป่วย

Benner, P. (1984). From novice to expert : Excellence and power in clinical nursing practice.Menlo Park, California : Addison - Wesley.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2) [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/91db3f6bd45b4add146cf7fe6f5b638f.pdf

กรมการแพทย์. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://49.231.15.21/crhfileload/upload/files/TEAF256211050831184234.pdf

Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University , 1981.

นันทวัน ดาวอุดม, สมฤดี ธันยปาลิต, อัจฉรา สุขมาก, สายสมร เฉลยกิตติ และธมนพัชร์ สิมากร . การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก [อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]; ปีที่17:197-206. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/73289/59006

วัชรพล คงเจริญ. ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1720/3/watcharapol.kong.pdf

รุ่งทิพย์ เจริญศรี, รุ่งรัตน์ สายทอง, จรูญศรี มีหนองหว้า, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะดิดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]; ปีที่17:197-206. เข้าถึงได้จาก: he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm /article/view/259954/181658

Edwards, E.. & Jones, L. (2021). Sepsis knowledge, skills and attitudes among ward-based nurses. British journal of mursing, 30(15), 920-927. https:/doi.org/ 10.12968/bjon. 2021.30.15.920

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]; ปีที่16:58-68. เข้าถึงได้จาก: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/1317/800

จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, ธิติพร เที่ยงแป้น, วันดี แย้มจันทร์ฉาย. ผลลัพธ์ของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน. วารสารแพทย์เขต 4-5 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2566]; ปีที่39:638-646. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248376/168805

อรอุมา มะกรูดทอง, จินตนา ดำเกลี้ยง. ผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2566]; ปีที่41:60-73. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Jim/Downloads/sjn_psu,+%7B$userGroup%7D,+6-256407-Onuma-upload.pdf

ทิมทอง เถาวัลดี และคณะ. ระบบพี่เลี้ยงกับการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก:http://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=1403

พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย และคณะ. การประเมินโปรแกรมพัฒนาศักยภาพพยาบาลพี่เลี้ยง โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566]; ปีที่30:14-27. เข้าถึงได้จาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/ article/view/254471/174858

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29