กรณีศึกษา: การพยาบาลหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ร่วมกับมีภาวะโลหิตจาง

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา หัสนจันทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

คำสำคัญ:

หญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, ภาวะโลหิตจาง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแผนการพยาบาลหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ร่วมกับมีภาวะโลหิตจาง จำนวน 1 ราย โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบบันทึกการให้บริการคลินิกวัยใส ตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน เวชระเบียนผู้ป่วยนอก แบบบันทึกการฝากครรภ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษา หญิงวัยรุ่น อายุ 12 ปี ยายพามาขอคำปรึกษาที่คลินิกวัยใสเรื่องตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ไม่ทราบอายุครรภ์ ได้ส่งปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการและอัลตราซาวด์ ผลการตรวจยืนยันว่าหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ อายุครรภ์ประมาณ 17+4 สัปดาห์ จึงส่งต่อแผนกฝากครรภ์ เพื่อรับบริการให้การปรึกษาและฝากครรภ์  จากการประเมินผลการพยาบาลพบว่า ปัญหาสำคัญส่วนใหญ่ถูกแก้ไขหมดไป แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องภาวะโลหิตจางอยู่ ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้น และปัญหาการคลอดก่อนกำหนด ที่ไม่สามารถป้องกันได้ โดยต้องวิเคราะห์หาสาเหตุและปรับปรุงระบบการดูแลหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ต่อไป

References

พิมพ์ณิชณิณ ภิวงศ์กำจร. การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและองค์กรในพื้นที่ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี . วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(4): 608-617.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 นนทบุรี: บริษัท เฌอมาศ จำกัด; 2559.

พรรัมภา ขวัญยืน. การบริหารการช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในจังหวัดเชียงใหม่ การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 [อินเตอร์เน็ต] 2557 [สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566].เข้าถึงจาก: https://cscd.kku.ac.th/uploads/proceeding/070714_154934.pdf

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินินุกูร และสุวลักษณ์ อัศดรเดชา. บทบาทพยาบาลในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก2561; 19 (ฉบับพิเศษ): 1-7.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการให้การปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2554

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2563 - 2565 [อินทราเน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงจาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

ทิพย์วรรณ โพธิ์ตา, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยสาเหตุของการฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในชุมชน.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 27(2): 180-189.

เดือนเพ็ญ ศิลปอนันต์. ทำไมจึงมาฝากครรภ์: ทัศนะของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557; 4(2): 125-134.

พรทิพย์ เรืองฤทธิ์ และสินีนาฏ หงส์ระนัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลแม่สรวยจังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2564; 14(1): 44-54.

กัญยา ทูลธรรม และสุภาพร สุภาทวีวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2566; 20(2): 75-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29