ผลของโปรแกรมการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
โปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่บ้าน, เด็กพัฒนาการล่าช้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ในอำเภอเรณูนคร กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 40 คน เป็น พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีบุตรพัฒนาการสงสัยล่าช้าและพัฒนาการล่าช้า อายุตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี โดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทักษะ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และแบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก DSPM เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เริ่มการทดลองตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2566 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Pair -t-test Independent t-test และ Chi square
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลอง ความรู้ ทักษะของ พ่อแม่ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p – value > 0.05 ) หลังการทดลอง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในกลุ่มทดลองมีความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p – value < 0.05 ) และพัฒนาการเด็กปฐมวัย หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p – value < 0.05 ) อย่างไรก็ตามพบว่า พ่อแม่ ผู้ปกครองกลุ่มควบคุมมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p–value < 0.05 )
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2563) สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กhttps://multimedia.anamai.moph.go.th/associaes/E-book-02-momandchild/
กรมสุขภาพจิต.(2558).คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ ( Thai Early Developmental Assessment for Intervention : TEDA4I ). พิมพ์ครั้งที่ 1 .โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ.(2559). การติดตามผลการรักษาเด็กออทิสติกที่ใช้แนวทาง DIR/ฟอร์ไทม์.วารสารกุมารเวชศาสตร์ ตุลาคม - ธันวาคม 2559 : 284 – 292
แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ (2560) การกระตุ้นพัฒนาการเด็กล่าช้าโดยครอบครัวมีส่วนร่วมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.เข้าถึงเมื่อ1 กรกฎาคม 2563 จาก www. Thaipediatrices.org.
กิ่งแก้ว ปาจรีย์.(2553).คู่มือการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกแบบองค์รวม ( เทคนิค DIR/ฟอร์ไทม์).กรุงเทพ.
กัลยา โสภณพนิช,2562.รายงานผู้บริหารเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย. เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2566 จาก https://moe360.
จอห์น บี ทอมสัน, ทอม คาน, มิลเดรด มาเชเดอ, ลิน โอลฟิลด์, มิเชลา คึกเกลอ และ โรแลนมีกแฮน. (2551). เด็กตามธรรมชาติ: คู่มือดูแลและเสริมสร้างศักยภาพเด็กในเจ็ดปีแรก (วิศิษฐ์ วังวิญญู, ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลน พริ้นติ้ง จำกัด.
ชูชาติ มีรอด. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กต่อความรู้ การปฏิบัติของมารดาและพัฒนาการเด็กอายุ 1-3 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิรมัย คุ้มรักษา รัชดาวรรณ์ แดงสุข ธัญหทัย จันทะโยทัย ลิศสิริ ราชเดิม ปรารถนา พรมวัง และ ดวงเดือน เสาร์เทพ (2561). ผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ในจังหวัดกาญจนบุรี.
ปวพร ทองหลวง (2558.) ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ศรินทิพย์ ชวพันธ์ อรอนงค์ ธรรมจินดา จริยา อินทะพันธ์ พิมพ์ชนก ต่อวงศ์ (2560).ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมต่อความรู้และทักษะของผู้ปกครองในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าขุย.มหาวิทยาลัยพายัพ.2558.
ศูนย์ฝึกอบรมและแพทย์ศาสตร์ศึกษา(2562).ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 3-5 ปี.ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี 2562.
สายฟ้า แก้วมีไชย สุวนีย์ จอกทอง วีรวรรณ บุญวงศ์ ( 2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้าตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.
เอกสารรายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2562.“3 เร่ง 3 ลด 3 เพิ่ม ฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทางรอดประเทศไทย” เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://zoom.us/j/92171282978 .