ผลการดำเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ประชากรวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • วาสนา มงคลศิลป์ กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการดำเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของประชากรวัยทำงานเขตสุขภาพที่ 7 ก่อนและหลังดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 480 คน ระยะเวลาวิจัย 1 ธันวาคม 2564 –31กรกฎาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน ของกรมอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน chi-Square และ paired t - test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ไว้ที่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะสุขภาพหลังดำเนินโครงการประชากรวัยทำงานมีรอบเอวและดัชนีมวลกายเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < 0.05) 2) พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 4 ด้านเพิ่มขึ้นจากก่อนดำเนินโครงการร้อยละ 33.5 เป็น ร้อยละ 40.8 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < 0.05)

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565 เข้าถึงจากhttp://bps.moph.go.th

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).2559.สืบค้นจาก http://planning.anamai.moph.go.th/ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565

กองกิจกรรมทางกาย กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกายการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและการนอนหลับ.นนทบุรี :บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด, 2560.

กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน.สืบค้นจาก http://www.hed.go.th/ เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.64

กองโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2549.

กระทรวงสาธารณสุข. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2564.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง* ดวงเนตร ธรรมกุล.การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม ปี 2558.สืบค้น https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=175467

คู่มือเฝ้าระวังการเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน ปี 2564. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี,2564

คู่มือเฝ้าระวังการเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน ปี 2565. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี,2565

โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ รายงานการประชุมระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ.นนทบุรี:บริษัท ธนาเพรส จำกัด ; 2556.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากร ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร.ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.

แสงเดือน กิ่งแก้ว,นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้องรังหลายโรค. สืบค้นจาก https://www.tcithaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47244. เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561.

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขรายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทยการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2553-2557. นนทบุรี : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2559

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การวิเคราะห์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับด้านจิตสังคมและพฤติกรรมของผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มโรคอ้วน.สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรกฎาคม 2556.สืบค้น http://bsri.swu.ac.th/teachers/ungsinun.htm. เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29