การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน หน่วยบริการปฐมภูมิเมืองย่า 4 (หัวทะเล) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ผุสดี ด่านกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสถานการณ์การจัดการระบบดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านและเพื่อศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิเมืองย่า 4 (หัวทะเล) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ให้บริการจำนวน 35 คน, ผู้รับบริการได้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 15 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงลึกลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
     ผลการวิจัยในส่วนของผู้ให้บริการเกี่ยวกับสถานการณ์จัดระบบระบบดูแลแบบประคับประคอง ของผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะในการดูแล, ไม่มีระบบข้อมูลและการประสานงานที่ครอบคลุม, การสนับสนุนด้านอุปกรณ์เวชภัณฑ์ในการดูแลไม่เพียงพอ, การมีส่วนร่วมของทีมและเครือข่ายไม่ชัดเจน ผลประเมินการสังเกตพฤติกรรมพบว่าผู้ให้บริการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.74) ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายโดยรวมอยู่ในระดับดี และมีระดับความพึงพอใจต่อระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) เท่ากับ 0.57 ในส่วนของผู้รับบริการซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ดูแล ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้และทักษะในการดูแล, ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดูแล, ไม่มีแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ, ขาดรายได้และค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงระบบบริการที่ยุ่งยากซับซ้อน, ระยะเวลารอคอยนานและมีอุปสรรคในการเดินทางมารับการรักษาความทุกข์ทรมานจากภาวะการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อน จากการรักษาผู้ป่วยและญาติมีระดับความพึงพอใจโดยรวมมากที่สุดต่อระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เท่ากับ0.49

References

สุวรรณี สิริเลิศตระกูล . การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง. สมุทรปราการ: หจก.สินทวีกิจพริ้นติ้ง;2555.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธ์ศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ(2563-2565).กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์; 2563.

World Health Organization(WHO) WHO Definition of Palliative Care (Internet) 2018 (cited 2021 May 28)/available from:http:www:who.int.cancer/Palliative/ Definition/en

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล , ปาริชาติ เพียสุพรณ์ .มาตรฐานคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แบบประคับประคอง.พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น:ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริม การจัดการสุขภาพตนเอง ของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบประคับประคองและผู้ดูแล. กรุงเทพฯ: หจกเทพเพ็ญวานิสย์; 2564.

รัตนาภรณ์ รักชาติ,สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, กัญญา ศรีอรุณ, ปานจิตร์ วงศ์ใหญ่ และภัทรดนัย ไชยพรม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองและระยะท้ายโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนต้นแบบหมู่บ้านปลอดมะเร็งจังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ.2564;4(2):1-19.

กชพร เขื่อนธนะ, จินตนา แสงจันทร์, รมิดา เชาว์ชวาเขต, ภัทรพล ดู่ผัด และจุฑามาศ ชาวส้าน. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน.วารสารวิชาการสาธารณสุข.2562;28(2): 273-85.

ยอดลักษ์ สัยลังกา, บุญมา สุนทราวิรัตน์ , รัตติกรณ์ มูลเครือคำ และจีระนันท์ สาวิยะ. ผู้ป่วยระยะสุดท้าย "ความจริงกับความหวัง" มุมมองผู้ป่วย ผู้ดูแลและชุมชนอีสานตอนบน.วารสารสาธารณสุขชุมชน.2564;7(2):99-117.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์, พิมลรัตน์ พิมพ์ดี, ศศิพนทุ์ มงคลไชย, พวงพยอม จุลพันธุ์, และยุพยงค์ พุฒธรรม.การพัฒนาระบบการดูแลแบบ ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2556; 23(1):80-90.

ฐิติมา ปลื้มใจ.รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในโรงพยาบาลสงขลา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า.2563;3(1):73-94.

วาสนา สวัสดีนฤนาท,อมรพันธุ์ ธานีรัตน์ และธารทิพย์ วิเศษธาร. การพัฒนารูปแบบการดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประดับประคองโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2558;25(1):144-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29