การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • นวลฉวี พะโน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การคัดแยกผู้ป่วย, ระดับความเร่งด่วน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล 15 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือฉุกเฉิน ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลท่าอุเทน จำนวน 30 คน เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยการประเมินประสิทธิภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติ กับเกณฑ์ที่คาดหวัง ร้อยละ 80 โดยใช้สถิติ t-test
     ผลการวิจัยพบว่า1. ผลเชิงกระบวนการ 1.1 มีแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน MOPH ED. Triage 1.2 มีแนวทางการตรวจสอบการปฏิบัติงานการคัดแยกผู้ป่วย (Triage system) 2. ผลเชิงผลลัพธ์ 2.1 ผู้ป่วยได้รับการประเมินอาการและจัดระดับความเร่งด่วนในการรักษา ร้อยละ 100 การคัดแยกพบ Under triage ร้อยละ 3.33 และ Over triage ร้อยละ 6.67 ไม่พบอุบัติการณ์การคัดแยกที่ห้องฉุกเฉินคลาดเคลื่อนระดับ E ขึ้นไป และระยะเวลารอคอยแพทย์แยกตามระดับการคัดแยก ได้รับการรักษาตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ร้อยละ 100 2.2 ผลการประเมินประสิทธิภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 93.33 ( = 2.78, S.D.= 0.21) 2.3 หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล มีคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01)

References

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2566. [ออนไลน์] 2566 [อ้างเมื่อ 5 สิงหาคม 2566]. จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=1&flagkpi.

American College of Emergency Physicieans. Clincal & Practice management: Crowding. [online] 2023 [cited 2023 Aug 5]. Available from: https://www.acep.org/content.aspx?id=29156#sm.0009zc78z1cm9dlrwm01 wuwd 4ie7u.

George, F., & Evridiki, K. The effect of emergency department crowding on patient outcomes. Health Science Journal, 9(1): 1-6; 2015.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ ที่ กพฉ.กำหนด (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

กรมการแพทย์. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. คู่มือการดำเนินงานการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยายาบาล ครั้งที่ 1/2564. นนทบุรี : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2564.

ณัฏฐิกา แซ่แต้ และ พัชรินทร์ นะนุ้ย. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่าย โรงพยาบาลยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(1): 149-161; 2565.

เยาว์รัฐส์ วิไชยมงคล. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยงานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1): 213-226; 2564.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 13(36): 160-178; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29