การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการวางแผนดูแลล่วงหน้าผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ศิตา พลีจันทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การวางแผนดูแลล่วงหน้า, ผู้ป่วยระยะท้าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการวางแผนดูแลล่วงหน้าผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม ระยะเวลาตั้งแต่พฤศจิกายน 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วย Palliative Care จำนวน 30 คน เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า แบบประเมินแนวปฏิบัติการพยาบาลในการวางแผนดูแลล่วงหน้าผู้ป่วยระยะท้าย และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาล ต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในการวางแผนดูแลล่วงหน้าผู้ป่วยระยะท้าย หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเทียบกับเกณฑ์ (4.00 คะแนน หรือ ร้อยละ 80.00) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
     ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการวางแผนดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย ประกอบด้วย 6 หมวด ในแต่ละหมวดได้อธิบายแนวทางการดูแลไว้ให้เข้าใจอย่างชัดเจน เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลบ้านแพง 2. ผลการประเมินตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นในการดูแลผู้ป่วย Palliative care ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด 3. หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96.67 เทียบกับเกณฑ์ (4.00 คะแนน หรือ ร้อยละ 80.00) พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01)

References

World Health Organization. Global atlas of palliative care. (2nd ed.). Open Society Foundations’ Public Health Programme. International Palliative Care Initiative; 2020.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2564. บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน.; 2564.

ราตรี ฉิมฉลอง. สมรรรถนะและบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. เวชสารแพทย์ทหารบก 74(3): 233-239; 2564.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และปาริชาติ เพียสุพรรณ์. แนวทางการดำเนินงาน ศูนย์ดูแลประคับประคองในโรงพยาบาล ศูนย์การุญรักษ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560.

Ferrell, R.B., Jennifer S. Temel, S.T., Temin, S., Alesi, R.E., Balboni, A.T., Basch, M.E., Firn, I.J., Paice, A.J., Peppercorn, M.J., Phillips, T., Stovall†, L.E., Zimmermann, C., & Smith, J.T. Integration of Palliative Care Into Standard Oncology Care: American Society of Clinical Oncology Clinical Practice Guideline Update. Journal of Clinical Oncology 35(1): 96-112; 2017.

กัลยาณี มูลฐี, ประทุม สร้อยวงค์ และ วราวรรณ อุดมความสุข. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการวางแผนดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: การวิจัยดำเนินการ. เชียงใหม่เวชสาร 60(4): 675-693; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. ข้อมูลตอบสนอง Service Plan สาขา Intermediate & Palliative Care. [ออนไลน์] 2566 [อ้างเมื่อ 5 สิงหาคม 2566]. จาก https://spkhdc.moph.go.th/ hdc/reports/page.php?cat_id=b08560518ca0ebcaf2016dab69fb38b5.

กัลยาณี มูลฐี. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการส่งเสริมการวางแผน ดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. [ปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

บุษยามาส ชีวสกุลยง, และ ลดารัตน์ สาภินันท์. แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองวัยผู้ใหญ่ฉบับสวนดอก (Palliative Performance Scale for Adult Suandok) (PPS Adult Suandok). ใน: บุษยามาส ชีวสกุลยง, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง Palliative care. กลางเวียงการพิมพ์; 2556.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล, และ อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 41(1): 18-30; 2539.

วิไล วงศ์แกล้ว และอิศรา สพสมัย. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 8(2): 339-350; 2566.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, กุลพิชฌาย์ เวชรัชต์พิมล, นัชพร ฤทธาปัญญา,และ นฤมล บุญบางยาง, ผลของการใช้โปรแกรมสัมพันธภาพบำบัดร่วมกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลแบบประคับ ประคอง ต่อความเครียด ความวิตกกังวล และคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยและผู้ดูแล. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 9(1): 134-146; 2566.

นิตยา มณีท่าโพธิ์, พรรณี ชูศรี, สมพร เจษฎาญานเมธา, ปัญญา เถื่อนด้วง และวิภาพร สิทธิสาตร์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 40(4): 1-12; 2565.

วรนุช จันทะบูรณ์ และ บัวพันธ์ พรหมพักพิง. ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 14(28): 151-165; 2565.

อรุณ โพธิงาม. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 8(2): 117-126; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29