การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยใช้การจัดการตนเองและการจัดการรายกรณี ในการชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ มณีนิล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, การจัดการรายกรณี, การชะลอไตเสื่อม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยใช้การจัดการตนเองและการจัดการรายกรณีในการชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลวังยาง จังหวัดนครพนม ระยะเวลาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2566 ถึง พฤศจิกายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 38 คน เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม แบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเอง คุณภาพชีวิต และผลลัพธ์ทางคลินิก ก่อนและหลังพัฒนารูปแบบ ด้วยสถิติ paired sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
     ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลเชิงกระบวนการ เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองใช้ทักษะการกำกับตนเอง (Self-regulation) 2) การให้ความรู้โรคไตเรื้อรัง 3) การติดตามต่อเนื่องที่บ้านโดยทีมสหวิชาชีพ 4) ภาคีเครือข่ายระดับชุมชนดูแลแบบองค์รวม  2. ผลเชิงผลลัพธ์ 1) หลังพัฒนารูปแบบ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองในการชะลอไตเสื่อม และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต สูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) 2) ผลลัพธ์ทางคลินิก หลังพัฒนารูปแบบ ผู้ป่วยโรคไต มีอัตราการกรองของไต สูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic และค่าความดันโลหิต Diastolic ต่ำกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) ส่วนค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ไม่แตกต่างกัน

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2565.

กรมควบคุมโรค. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

National Kidney Foundation. Chronic Kidney Disease (CKD). [online] 2023 [cited 2023 Sep 15]. Available from: https://www.kidney.org/atoz/content/about-chronic-kidney-disease#about-chronic-kidney-disease-ckd.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ, สุนันทา วิจิตรจิตเลิศ, ธีรยุทธ เจียมจริยาภรณ์, กชรัตน์ วิภาสธวัช, สุพัตรา กาญจนกร, ปิยะรัตน์ ไพรัชเวทย์, เอกหทัย แซ่เตีย. การป้องกันและการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังและไตวาย. กรุงเทพฯ: สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์; 2558.

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง, ประสมรักษ์ ประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุตท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการตูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพรายเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4(4): 405-503; 2559.

โรงพยาบาลวังยาง. สรุปผลการดำเนินงานการป้องกันและการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรัง ปี 2565. นครพนม: งานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ โรงพยาบาลวังยาง; 2566.

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. [ออนไลน์] 2566 [อ้างเมื่อ 15 กันยายน 2566]. จาก https://dmh.go.th/test/download/view.asp?id=17.

จารุวรรณ บุญศล. รูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(4): 560-568; 2566.

คำแปลง ศรีซ้ง. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2), 181-193; 2566.

ปิยะดา ด้วงพิบูลย์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลวัดเพลง. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(3), 13-24; 2565.

วราทิพย์ แก่นการ, เกษม ดำนอก และ ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย. ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยใช้การจัดการโรคเชิงบูรณาการและการจัดการรายกรณีในหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 37(3): 173-182; 2562.

สิทธิพงษ์ พรมแสง. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 6(3), 63-71; 2564.

ปัญญาพร ฉายะโคตร, รักชนก ถวิลการ และ สุขขี แสงส่อง. รูปแบบบริการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตามบริบทคลินิกโรคไต โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3), 495-504; 2566.

สุจิตรา ภักดิ์จรุง. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการชะลอความเสื่อมของไตระยะ 3 โรงพยาบาลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 8(3), 712-717; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29