ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี จำนวน 200 คน ในตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบประเมินปัจจัยด้านสังคม แบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพ และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Thai version of The Patient Health Questionnaire for Adolescents (PHQ-A) สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแคว์ (Chi-square test) และสถิติค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวด้านการแก้ปัญหา การสื่อสาร บทบาท ความผูกพันทางอารมณ์ การควบคุมพฤติกรรม การปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป และเหตุการณ์กดดันในชีวิตและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (P<0.05) ส่วน ความสัมพันธ์กับเพื่อนไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ดังนั้น ทีมสุขภาพและผู้ใกล้ชิดควรให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่น และควรศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่
References
Thapar, A., Collishaw, S., Pine, D.S., & Thapar, A. (2012). Depression in adolescence. Seminar, 379(9820), 1056-1067. DOI:10.1016/S0140-6736(11)60871-4
บรรจง เจนจัดการ, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, และชนัดดา แนบเกษร, วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล, และ โชษิตา ภาวสุทธิไพ ศิฐ. (2563). “ภาวะซึมเศร้า และความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่น” วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 21(2); 42. (พฤษภาคม-สิงหาคม)
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล และโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2563). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28(2):136-149.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. (2564). ปัญหาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. [ออนไลน์] ได้จาก :http://ptho.moph.go.th/main.php?fbclid=IwAR2ZwJ3BiDUgHehH-tOSBM63byXA4AmFHmReeUDMTaPk1itArmb7pJg9O8k. [สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564].
ภัทรานิษฐ์เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ. (มปป.) การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane (Determining the sample size by the Yamane’s formula. [ออนไลน์] ได้จาก :https://sc2.kku.ac.th/stat/ statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf .[สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2564].
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544).จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว.5 พมคง,editor. กรุงเทพฯ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.
ณัฐวุธ แก้วสุทธา, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, และวิกุล วิสาลเสสถ์ (2557). ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาไทย บทบาทที่สำคัญสำหรับสถาบันการศึกษา. ซึมเศร้า. [ออนไลน์] ได้จาก : file:///C:/Users/ASUSWiTT/Downloads/244029-Article%20Text-892278-1-10-20210131%20(5).pdf [สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2564].
ลักษิกา พิสุทธิไพศาล และจารุพร ตั้งพัฒนกิจ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี. [ออนไลน์] ได้จาก : file:///C:/Users/ASUSWiTT/Downloads/241022-A1-899763-1-10-20210629.pdf. [สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564].
บุญศรี นุเกตุ,ปาลีรัตน์ พรทวีกัณทา และคณะ. (2550). การพยาบาลผู้สูงอายุ. นนทบุรี : โครงการ สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
สราวลี สุนทรวิจิตร ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และคณะ .(2559). การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ Prevention of Adolescent Depression: From Evidence to Practice. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1) ,1-12.
กนกวรรณ อุบลบาน1, สุทิน ชนะบุญ(2564).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสาธารณสุขชุมชน. 4(2);45-56.กรกฎาคม–ธันวาคม2564
อนงค์ ดิษฐสังข์ และสุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย.(2550).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ เขตจคุจักร กรุงเทพมหานคร.วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์.22(3).93-104.
รวิพรรณ พูลลาภ และอาจินต์ สงทับ. (2563). บทบาทเพื่อนในการช่วยเพื่อนวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า. [ออนไลน์] ได้จาก : https://he01.tcithaijo.org.[สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2564].