ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • อภิญญา อุบลสะอาด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลับแล

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โปรแกรมที่ใช้พัฒนามาจากแนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และแกลิค-บายส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 12 สัปดาห์ และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ t-test
     ผลการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ มีค่าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

World Health Organization. Hypertension. [Internet]. 2020. [cited 2021 Sep 19]. Available from https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/ hypertension.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 66] เข้าถึงจาก: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14502&gid=1-015-005

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 66] เข้าถึงจากhttps://utt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 66] เข้าถึงจาก: http://www.thaihypertension.org/guideline.html

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. เข้าถึงจาก: https://www.thaincd.com/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_62.pdf

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. Self-management methods. In F. Kanfer & A. Goldtein (Eds.), Helping people change: A text book of methods. (4th ed.). New York: Pergamonpress, 1991.

รัฏฐรินีย์ ธนเศรษฐ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยทำงาน” วารสารวิชาการสำนักงานควบคุมโรคที่ 2561; 24: 100-111.

สายฝน วรรณขาว. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองตอระดับความดันโลหิตและพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2562; 11: 126-141.

สุพัตรา สิทธิวัง, ศิวพร อึ้งวัฒนา และเดชา ทำดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 66] เข้าถึงจาก: 43https://www.tcithaijo.ort/index.php/TJONC/article 43/download/2626/2007

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum. 1988.

Burns, N., & Groove, S. K. The practice of nursing research: appraisal, synthesis, and generation of evidence. St. Louis: Saunders Elsevier. 2009.

ขนิษฐา สารีพล, และปัทมา สุริต. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. Journal of Nursing and Health Care; 2558. 33; 110-116.

Best, J. W. and Kahn J.V.. Research in Education. 7th ed. Boston, MA: Allyn and Bacon. 1993.

Conbarch, L. Joseph. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill. 1994.

นิตยา กระจ่างแก้ว บุญทิพย์ สิริธรังศรี และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล (2565) ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(4) 725-434.

พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน สุมิตรพร จอมจันทร์ และณิชชา ทิพย์วรรณ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, 2564; 13: 59-72.

ศุภลักษณ์ ทองขาว นิภา กิมสูงเนิน และรัชนีนาม จันทรา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้วัยผู้ใหญ่ตอนต้น, 2564; 32: 73-88.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ และวริศรา ปั่นทองหลาง. ผลของโปรแกรมยกระดับชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะอาด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 2565; 4: 26-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29