ผลของแนวทางอบอุ่นร่างกายต่อภาวะหนาวสั่นในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องโดยการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
แนวทางอบอุ่นร่างกาย, ภาวะหนาวสั่น, การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง, การระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experiment research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลภาวะหนาวสั่นของหญิงตั้งครรภ์หลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องโดยการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องโดยการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังแบบ elective 38 ราย ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลา 3 เดือน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกส่วนบุคคล และ แบบบันทึกการหนาวสั่น วิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางสถิติหา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่าการนำแนวทางอบอุ่นร่างกายต่อภาวะหนาวสั่นในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องโดยการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลหนองคาย คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่น กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวทางแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นกลุ่มควบคุมเท่ากับ 1.842 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.834 คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นกลุ่มทดลองเท่ากับ 0.489 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.917 ค่า t = – 3.699 ค่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P = 0.004)
References
โรงพยาบาลหนองคาย รายงานสถิติตัวชี้วัดและภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีประจาปี 2565.
สมรัตน์ จารุลักษนันท์. (2560). โครงการวิจัยสหสถาบัน เรื่อง การศึกษาอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีจากรายงานอุบัติการณ์ในประเทศไทย.กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
อภิชาต ศุภธรรมวิทย์. (2559). ตำราวิสัญญีพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics. (5th ed.).Duxbery:Thomson learning,308.
ปนัดดา สถิตวัฒน์. (2563). การลดภาวะหนาวสั่นโดยการใช้ผ้าคลุม สวมปลอกแขนและขา ผู้ป่วยผ่าตัดคลอดได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลนครพนม, 4(1),43-52.
Butwick, A.J., Lipman, S.S., & Carvalho, B. (2007). Intraoperative Forced Air – Waerming during Cesarean Delivery under Spinal Anethesia does not Prevent Maternal Hypothemia. Obstetric Anesthesiology, 105(5),1413-19.
เกสร พั่วเหล็ก.(2560).ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิต่ำเพื่อการพัฒนาโปรแกรมอบอุ่นร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 25(3),294-305.
สาธร หมื่นสกุล. (2555).ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนและอาการหนาวสั่นในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. 21(4),62-73.
วนิดา ศรีสถาน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นในห้องพักฟืนในผู้ป่วยที่ฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง.หน่วยงานวิสัญญีกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแม่สอด.