การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของผู้นำชุมชน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้นำชุมชน, การดูแลผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของผู้นำชุมชนและผลของการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของผู้นำชุมชน มีระยะเวลาในวิจัย ระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 ถึง เดือนธันวาคม 2566 รวม 3 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินงานความเข้าใจในการปฏิบัติตัวผู้ป่วยเบาหวานและความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของผู้นำชุมชน จังหวัดนครปฐม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานความเข้าใจในการปฏิบัติตัวผู้ป่วยของผู้นำชุมชน จังหวัดนครปฐม ดีกว่าก่อนการดำเนินงาน
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.(2564). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. Online https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
พิรุณี สัพโส.(2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น . 5(1). 169-83
จันทร์เพ็ญ ประโยงค์ พิสมัย ไชยประสบ ดรุณี มั่นใจวงค์.(2563) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 29 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2563 803-12
จีระศักดิ์ ทัพผา นฤนาท ยืนยง ปณิธาน กระสังข์.(). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชน.
กระทรวงสาธารณสุข. (2557) . คู่มือนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556) แนวทางดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง ปี 2561. โรงพิมพ์กองสุขศึกษา : กระทรวงสาธารณสุข.
ชูสง่า สีสัน ธณกร ปัญญาใสโสภณ. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปักธงชัย.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 36(3). 519 - 32
ศูนย์เบาหวานศิริราช. (2558). กินอย่างไรกับเบาหวาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมเกียรติ โพธิสัตย์, วรรณี นิธิยานันท์, อัมพา สุทธิจำรูญ และยุพิน เบ็ญจสุรัตน์วงศ์. (บรรณาธิการ). (2556). การให้ความรู้เพื่อจัดการโรคเบาหวานด้วยตัวเอง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2551). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.
สุรินธร กลัมพากร. (2554). การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน. ใน อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ (บรรณาธิการ), การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน:การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (หน้า 29-68). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
กองสุขศึกษา (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
อัครณี ภักดีวงษ์. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน และงานบริการในชุมชน ประจาปีงบประมาณ 2562. วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสถิติ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฑาพงศ์ เตชะสืบ วราภรณ์ บุญเชียง รังสิยา นารินทร์.(2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน. พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 111-121