ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตาพรม อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูง ที่เป็นตัวแทนประชากร ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า เพศหญิงและเพศชายใกล้เคียงกัน เพศหญิง ร้อยละ 51.7 เพศชาย ร้อยละ 48.3 อายุเฉลี่ย 69.4 ปี (S.D = 5.8) การศึกษา ประถมศึกษา ร้อยละ 52.1 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 45.8 ส่วนใหญ่รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 80.0 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 55.4 เบาหวาน ร้อยละ 32.1 ไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 67.5ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 72.9 และมีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 100 ( = 2.63, S.D =0.018) สำหรับปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยเรียงตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนบ้าน และรายได้ มีส่วนร่วมในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 16.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P< .05
References
World Stroke Organization. Face the Facts: Stroke is Treatable. [Internet]. 2017 [cited 2017 Aug 29]. From: http://www.worldstrokeczmpaign.org/learn.html.
World Health Organization. Stroke, Cerebrovascular accident [Internet]. 2017 [cited 2017 Aug 29] From http://www.who.int/topics/cerebrovascular_accident/en/
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราป่วย/ตาย ปี 2559-2562 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง,หลอดลมอักเสบ, ถุงลมโป่งพอง) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 18 พย. 65] เข้าถึงจาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail. php?id=138938&tid=32&gid=1-020
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2557 นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์. 2560.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองตาพรม. สรุปรายงานประจำปี (งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง). 2565.
Becker, M. H., & Maiman, L.A. The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography 1975; 2, 336-385.
Wan, L-H., Zhao, J., Zhang. X-P., Deng, S-F., Li., He, S-Z., & Ruan, H-R. Stroke Prevention Knowledge and Prestroke Health Behaviors Among Hypertensive Stroke Patiens in Mainland China. The Journal of Cardiovascular Nursing 2014; 29:1-9.
ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่, วีณา จำเริญบุญ, จิราภรณ์ ฉัตรศุภกุล และธัญชนก กองทอง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 14:573-582.
บุษราคัม อินเต็ง และสุพัฒนา คำสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเก่า จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562; 13:122-134.
ยุทธนา ชนะพันธ์ และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561; 21: 109-119.
กันยารัตน์ อุ๋ยสกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในภาคใต้ ประเทศไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ 2554; 4:15-26.
สุริยา หล้าก่ำ และศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560; 9:85-94.
พรสวรรค์ คำทิพย์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อและความตระหนักรู้ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลตำรวจ 2556; 6:44-45.
ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์, จารีศรี กุลศิริปัญโญ, อรุณ นุรักษ์เข และกิตติศักดิ์ หลวงพันเทา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 22:55-69.