การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธัญพร เรือนนุช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด และ 2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคหลอดหลอดเลือดสมองตีบ ญาติหรือผู้ดูแล สนับสนุน ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม
     จากกรณีศึกษาพบว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วม โดยผู้ป่วยไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ถึงแม้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลทัน golden period เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติสมองขาดเลือดในช่วง 3 เดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นข้อห้ามในการให้ยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามสภาพปัญหา ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการดูแลติดตามช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกรับที่ผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลัน   ระยะที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และระยะที่กลับไปอยู่ในชุมชนเพื่อฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ  โดยมีการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง ให้คำแนะนำด้านการเคลื่อนไหว การสื่อสาร การรับรู้ การกลืน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลจนปลอดภัย  ได้รับการฟื้นฟูสภาพและทักษะที่จำเป็นในการดูแลตนเอง สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่กลับมาเป็นซ้ำและสามารถนำแนวทางไปเป็นข้อมูลในการศึกษาต่อไปได้

References

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลศิริราช. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/1256_1.pdf.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560–2564).[เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2567].เข้าถึงได้จาก:http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-0204.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2560). รายงานข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. นครปฐม: กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ.

โรงพยาบาลสามพราน. (2566). รายงานข้อมูลด้านสุขภาพ. นครปฐม: กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศด้านสุขภาพ.

สถาบันประสาทวิทยา. (2559). แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรสจำกัด.

สถาบันประสาทวิทยา. (2556). คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.).

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: วารสารการแพทยโรงพยาบาลอุดรธานี. 27(2), 211-222.

วิเชียร ไพศาล. (2559). แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Clinical Practice Guidelines for Stroke Rehabilitation). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

ภัทรา วัฒนพันธุ์. (2560). การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน. North-Eastern Thai journal of neuroscience. 12(1), 31-43.

สมบัติ มุ่งทวีพงษา. (2565). โรคหลอดเลือดสมองและประสาทวิทยาวิกฤติ. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29