ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ ดาเกลี้ยง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เพื่อศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 โดยประยุกต์กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามกระบวนการใช้ผลการวิจัย (Research utilization) ของ Iowa Model) 3 ขั้นตอน คือ การกำหนดแนวปฏิบัติการพยาบาล การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้จริงในคลินิกและการประเมินผลลัพธ์ภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 14 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ในการประเมินผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบวัดความรู้ในการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ในการประเมินผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและความรู้ในการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2) ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้ออยู่ระหว่าง 6-10 นาที เวลาเฉลี่ย 15.43 นาที (เป้าหมายการรักษากำหนดให้ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อ ภายใน 1 ชั่วโมง) ส่วนใหญ่ได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อที่ระยะเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ร้อยละ 100.0 ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะพบว่าอยู่ระหว่าง 35-51 นาที เวลาเฉลี่ย 27.87 นาที และ 3) ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

References

ทิฏฐิ ศรีวิสัย และวิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ; ความท้าทายของการพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2561. 9(2), 152-162.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 66] เข้าถึงจาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1448

ประกาศิต เทนสิทธิ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(1), 101-109

Amland, R. C., & Hahn-Cover, K. E. (2016). Clinical decision support for early recognition of sepsis.American Journal of Medical Quality, 31(2), 103-110

Byrne, L.K. (2014). Nursing management of pediatric sepsis. Pediatric Intensive Care Unit, 15(2), 128-130

Padilha, P., Almeida, B., Derico, B. C., Elmiro, F. C. M., Jesus, M. F. F., & Sousa, V. L.(2011). Role of nurses in the early recognition of sepsis. Crit Care, 15(Suppl 2), 23. doi: 10.1186/cc10171

อรอุมา ท้วมกลัด, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. ความรู้ในการประเมินและการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย. รามาธิบดีสาร. 2557; 20(2): 206-220

ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา, และวารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่ม อาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2560, 6(2): 32-43.

สมพร ศรีทันดร, วารินทร์ บินโฮเซ็น, และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. การพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้ใน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Unpublished Master’s thesis).มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี, 2556.

Iowa Model Collaborative et al.Iowa Model of Evidence–Based Practice: Revisions and Validation . Worldviews Evid Based Nurs. 2017 Jun;14(3):175–82

พรนภา วงศ์ธรรมดี, รัชนี นามจันทรา และวารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม,วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2562; 33-49.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 2560.

Makic, M. B. F. & Bridges, E. Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines and Definitions. AJN, 2018. 118(2), 34-39

เนตรญา วิโรจวานิช. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Nursing and Health sciences, 2018; 12(1):84-94.

Holzemer WL, Reilly CA. Variables, variability, and variations research: Implications for medical informatics. Journal of the American Medical Informatics Association. 1995; 2(3): 183-90. doi: https://doi.org/10.1136/jamia. 1995.95338871

National Health and Medical Research Council (NHMRC). A guideline to the development implementation and evaluation of clinical practice guidelines. [Internet]. Australia; National Health and Medical Research Council; 1999. [cited 2023 Oct 12]. Available from: https://www.health.gov.au/internet/main/publishing.nsf/content/cda-pubs-cdi-1998 -cdi2205-cdi2205b.htm

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. . [อินเตอร์เน็ต} 2566. [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 66] เข้าถึงจาก https://www.snmri.go.th/wp-content/uploads/2021/11/รายละเอียดตัวชี้วัด-2565.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29