การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลมารดาทารกแรกเกิด, สารเสพติดแอมเฟตามีนบทคัดย่อ
การศึกษากรณีศึกษา 2 ราย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเสพติดแอมเฟตามีน และศึกษาผลของการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเสพติดแอมเฟตามีน โดยใช้การจัดการรายกรณี ผู้ป่วยกรณีศึกษาเป็นทารกที่คลอดในโรงพยาบาลนามน ดำเนินการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 โดยใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี
ผลการศึกษาพบว่า ทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเสพติดแอมเฟตามีน มีภาวะน้ำหนักน้อยทั้ง 2 ราย และศีรษะต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ 1 ราย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะดูแล มารดามีการใช้แอมเฟตามีน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะคลอดให้ผล Positive ต่อเมทแอมเฟตามีน ให้การว่ามีเสพโดยการสูบ และครอบครัวให้ความร่วมมือในการดูแลทารกต่อเนื่อง และมีความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเสพติดแอมเฟตามีน และพยาบาลที่ให้การพยาบาลมีความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเสพติดแอมเฟตามีน โดยมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบการพยาบาลที่มีความเฉพาะเจาะจง การให้ข้อมูลมารดาและครอบครัวในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้อย่างเหมาะสม การวางแผนจำหน่ายที่ให้มารดาและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลต่อเนื่อง การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงาน รพ.สต.เขตพื้นที่ โดยทารกและมารดาพักอาศัยเพื่อการเยี่ยมบ้านที่ต่อเนื่องร่วมกับ การวางแผนการรักษาตามแนวทางการพยาบาลที่ทันสมัย การดูแลผู้ป่วยที่บ้านด้วยทีมสหวิชาชีพและการแพทย์แผนไทยและภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ การวิเคราะห์ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านด้วยทีมสหวิชาชีพและการแพทย์แผนไทย และการดูแลหลังคลอด อบประคบหม้อเกลือ การใช้สมุนไพรชาชงยาดอกขาว การทำงานร่วมกับฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ ผลักดันวาระยาเสพติดในพื้นที่เป็นวาระพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
References
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปี 2561 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กรมสุขภาพจิต.กระทรวงสาธารณสุข 2561
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. เมทแอมฟตามีน. 2564
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดาเนินงานยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. สมุทรสาคร:บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง. 2559
นันทา ชัยพิชิตพันธ์. การบำบัดเพื่อเสริมแรงจูงใจ : ทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเสพติด.ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556; 13(1), 98-108.
บุรียา แต่งพันธ์. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26(1), 1-5
American Psychiatric Association. Diagnosis and Statistical Manual of Mental Disorder, Fifth Edition. Arlington. American Psychiatric Association 2013
Bandura A. Social foundations of though and action. A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, New Jersey Prentice-Hall 1986
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. การดำเนินงานยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562. สำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข 2562
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) จังหวัดกาฬสินธุ์. (2565) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ 2565
โรงพยาบาลนามน. รายงานศูนย์ฐานข้อมูลสุขภาพ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. (2564) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ 2564
กานต์ทอง ศิริวัฒน์ และกุณฑรี ไตรศรีศิลป์หมื่นพินิจ. สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดพิษแก่ทารกในครรภ์ (Teratogen and fetotoxic agent). สูติศาสตร์ล้านนา. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2564
อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(2): 105-112.
สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์. ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล 2564
สายชล ขุนหล้า. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน : กรณีศึกษา.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566; 8(2): 670-676.
พรทิพย์ หอมเพชร และคณะ. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอดที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอดการกลับมารักษาซ้ำและการกลับมาเสพซ้ำในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2566; 26(1): 12-26.