การพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยนอกตามแนวทาง Smart Hospital โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ยุพิน รินทราช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ดาววดี ลีลาวัฒนานนท์กุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ศรายุทธ นวะศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการการบริการผู้ป่วยนอก, แนวทาง Smart Hospital

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยนอกตามแนวทาง Smart Hospital โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกก่อนและหลังพัฒนา คำนวณจากสูตรประมาณค่าสัดส่วน จำนวน 367 คนเท่ากัน 2) เจ้าหน้าที่ที่งานผู้ป่วยนอกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระยะเวลาการรอคอย ความแออัด ความพึงพอใจ ด้วยสถิติ t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.13 ส่วนมากมีอายุในช่วง 31-44 ปี ร้อยละ 10.35 การศึกษาส่วนมากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 27.25 สิทธิพื้นที่บริการบัตรทอง ร้อยละ 73.57 สาเหตุที่มารับบริการด้วยโรคมากที่สุด คือโรคไตวายเรื้อรัง ร้อยละ 10.35 กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ จำนวน 24 คน ส่วนมากเป็นหญิง ร้อยละ 79.17 อายุส่วนมากอยู่ในช่วง 31-44 ปี ร้อยละ 41.67 ระดับการศึกษาส่วนมากจบปริญญาตรี ร้อยละ 66.67  อาชีพส่วนมากพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 45.83 กระบวนการพัฒนาได้แก่ 6 มาตรการ ได้ปรับรูปแบบและกิจกรรม และการทบทวนประเด็นปัญหาเพื่อปรับปรุงระบบบริการ เพื่อตอบสนองนโยบายการลดระยะการรอคอย 1) ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ 2) จัดทำแผนงานโครงการบูรณาการงบประมาณร่วมกันในโรงพยาบาล 3) การสร้างมาตรการลดระยะเวลารอคอย 4) การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี  5) การให้ความรู้และทัศนคติ 6) การประเมินผลและถอดบทเรียนร่วมกัน ภายหลังการพัฒนาพบว่า เชิงคุณภาพ พบว่าเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ใบสั่งยา Paperless ทำให้ระบบคล่องตัวมากขึ้น คิวแยกแผนกที่ชัดเจน ร่วมกับระบบ Hos XP ทำให้ง่าย ตู้คิวอัตโนมัติที่สามารถลงทะเบียนที่รวดเร็วเพียงสอดบัตรประจำตัวประชาชน ระบบบริการโดยใช้ One Vital Sign connect to HIS สามารถส่งข้อมูลสัญญาณชีพที่วัดได้เข้าระบบ Hos XP โดยอัตโนมัติทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว ลดเวลาในการลงข้อมูล ขั้นตอนการรอคอยเดิม 11 ขั้นตอน เหลือเพียง 7 ขั้นตอน เวลาเฉลี่ยแต่ละจุด 11.52 นาที อยู่ระหว่าง 78-116 นาที เวลารวมหลังการพัฒนาอยู่ที่ 115.24 นาที จากการทดสอบระยะเวลารอคอย ความแออัดแต่ละจุด และความพึงพอใจดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. การดำเนินงานยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2562. สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

ธัญกร เอี้ยวซิโป และ วิไลลักษณ์ เลิศเมธากุล. รายงานการพัฒนาระบบคิวงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล; 2564.

ปุณยนุช แกวยัง. ความพึงพอใจของพนักงานบริษัทในการใช้งานระบบ paperless. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ 2560 ; 2(3): 355-373.

วันธณี วิรุฬห์พานิช. ผลของโมบายแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.2564 ; 41(1): 37-53.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานผลการประเมิน smart hospital จังหวัดกาฬสินธุ์.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2564.

โรงพยาบาลสมเด็จ. รายงานศูนย์ฐานข้อมูลสุขภาพอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2564.

มัธนา เอ็มประโคน. รายงานการพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2564.

ธวัช ทองน้อย และ อรวรรยา กระสังข์. การลดความแออัดและระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาล. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2564; 63(4): 822-835.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(36): 160-178.

นิตยา คล่องขยัน. การพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยกระบวนการ Smart Hospital โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ; 2565.

จินตนา ศรีสร้างคอม และ อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล. การพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลในยุค New Normal แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2566; 7(3): 109-122.

ไพรฑูรย์ ทิ้งแสน และ อารีย์ นัยพินิจ. การกำหนดแนวทางการลดระยะเวลาการรอคอยการให้บริการตรวจโรคทั่วไปของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2563; 10(1): 59-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29