ผลของการพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • ฐาวรัตน์ ภู่ทัศนะ โรงพยาบาลตรอน

คำสำคัญ:

การประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมอง, Stroke Fast Track, stroke, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลของการพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 เครื่องมือใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ความรู้และการรับรู้สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง การฝึกปฏิบัติการค้นหาความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 2) โปรแกรมการพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และการรับรู้สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง การฝึกปฏิบัติการค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขเพิ่มจากร้อยละ 30.0 เป็นร้อยละ 76.7

References

ลำดวน เกิดประสพสุข, อุเทน สุทินและ วนิดา ประเสริฐ. ผลของโปรแกรมกรเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการประเมินและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้และการประเมินและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. 2561; 7(2). 127-136.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นสารวันอัมพาตโรค ปี 2560. [อินเตอร์เน็ต] 2560. เข้าถึงจากhttp://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=12554&gid=18.

กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ. การจัดการด้าน การให้ยา rt-PA. ใน สมศักดิ์ เทียมเก่า, กรรณิการ์ บุญคงเกียรติ, กาญจนศรี สิงห์ภู่, และพัชรินทร์ อ้วนไตร (บรรณาธิการ), คู่มือการจัดการระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. 2555.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. [อินเตอร์เน็ต] 2562. เข้าถึงจาก http://www file:///C:/Users/DELL/Downloads/Documents/03%2050.pdf.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2554.

National Stroke Association. (2016). Post-stroke conditions. Physical. [Internet] [Cited 2023 Oct 11]. Available from http://www.stroke.org/we-can-help/survivors/stroke-recovery/post-stroke-conditions/physical.

World Stroke Organization. World stroke day 2021 launches the precious time campaign. [Internet] [Cited 2023 Oct 11] Available from https://www.who.int/srilanka/news/detail/29-10-2021

NHS Improvement. Psychological care after stroke: improving stroke services for people with cognitive and mood disorders. UK: NHS Improvement. 2011.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. Stroke network. Thai Journal of Neurology, 2560; 33(1), 57-60.

ญนัท วอลเตอร์, โรชินี อุปรา และประกายแก้ว ธนสุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559: 3(2),100-116

ธวัชชัย วรพงศธร, สุรียพันธ์ วรพงศธร. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561; 41(2):11-21.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์นจำกัด. 2560.

จิรัชยา สุวินทรากร สุรินธร กลัมพากร และทัศนีย์ รวิว เรกุล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วารสารพยาบาล, 2562; 68(1), 39-48

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29