การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด เพื่อเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ณกานต์ชญาน์ นววัชรินทร์ โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร
  • ภูมิธพัฒน์ มายุศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าแซะ
  • เดือนเพ็ญ เคี่ยนบุ้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร
  • พนัดดา นักดนตรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, โรคเบาหวานระยะสงบ, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด เพื่อเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยและพัฒนาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานมาไม่เกิน 5 ปี ได้รับการรักษาโรคเบาหวานด้วยยาชนิดรับประทาน  มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/เมตร2) ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 10 แห่งจำนวน 327 คน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2566 ใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเข้มงวดเป็นระยะเวลา 3 เดือน และประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อรูปแบบการพัฒนาฯ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลต่างของระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ดัชนีมวลกายโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired sample t- test การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลหลังอดอาหารเช้า ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมและดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด เพื่อเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < .05 โดยหลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม และดัชนีมวลกายลดลง ทั้งนี้ บุคลากรผู้ใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พัฒนานี้มีความพึงพอใจในภาพรวมมากถึง ร้อยละ 91.60

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. การทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2563-2566.กระทรวงสาธารณสุข; 2566

กรภัทร มยุุระสาคร. การควบคุมเบาหวานด้วยโภชนาการรายบุคคล (personalized diabetes nutrition). วารสารเบาหวานสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย,2565;54(2), 83-102.

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข.2565 [อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย.2566] http://www.thaiendocrine.org/th/2022/11/30/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A/

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ .นิยามใหม่ภาวะเบาหวานสงบ. [อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย.2566] http://www.thaiendocrine.org/th/2021/10/05/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87/.

ธัสมน นามวงษ์, รัชชนก กลิ่นชาติ, สุมาลี ราชนิยม,พนัชกร ค้าผล และนฤมล ทองภักดี. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562;29(3); 179-193.

พวงเพชร เหล่าประสิทธิ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ของโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่าย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2566;37(1):1-15.

ภรณ์ทิพย์ ศรีสุข, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการออกกำลังกาย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565;30(1):12-23

มุกดา งามวงศ์, วท.บ และคณะ .การสังเคราะห์โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2562;17(1);56-71

รัตติกาล พรหมพาหกุล, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และกีรดา ไกรนุวัตร. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;38(2); 32-45.

ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข.กรุงเทพฯ:พัชรินทร์ โพธิ์ทอง (พีพี มีเดีย ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์); 2565

วันเพ็ญ นาสอนใจ. (2561) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561;32(2);1006-1013.

วรรณี นิธิยานันท์ ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ | Hfocus.org. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย.2566] https://www.hfocus.org/content/2019/11/18014

วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ, มงคลธิดา อัมพลเสถียร และกุลวดี บุณยทรัพยากร. ผลของอาหารพลังงานต่ำมากแบบมีเว้นระยะ ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไข้อ้วนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย.2566] https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4918.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย,กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,และสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จํากัด; 2560.

อภิชาติ เอกัคคตาจิต. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้ต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และ HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563;17(2); 259-268

Dey, K. P., & Hariharan, S. Integrated approach to healthcare Quality management: A case study. The TQM Magazine. 2006, 18(6); 583-605.

Glasgow, R. E., Davis, C. L., Funnell, M. M., and Beck, A. (2003). Implementing practical interventions to support chronic illness self-management. Joint Commission journal on quality and safety, 29(11), 563–574.

Glasgow, R. E., Emont, S., and Miller, D. C. (2006). Assessing delivery of the five 'As' for patient-centered counseling. Health Promotion International, 21(3), 245–255.

International Experts Outline Diabetes Remission Diagnosis Criteria . [อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 เม.ย.2566] https://diabetes.org/newsroom/press-releases/2021/international-experts-outline-diabetes-remission-diagnosis-criteria

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 1970, 30(3); 607 – 610.

Methakanjanasak, N. Self-management of end stage renal disease patient receiving hemodialysis. [Dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2005

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29