การศึกษารูปแบบการจัดระบบบริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยอมรับการยุติการตั้งครรภ์ เครือข่ายจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สายใจ สุวรรณศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดระบบบริการ, หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม, การยุติการตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดระบบบริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยอมรับบริการยุติการตั้งครรภ์ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เครือข่ายจังหวัดหนองคาย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาวิจัยจากเอกสาร กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยกลุ่มผู้ให้บริการได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข นักจิตวิทยา ตัวแทนเครือข่ายอาสา และตัวแทนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการยุติการตั้งครรภ์ รวมผู้ให้บริการจำนวน 15 คน และกลุ่มผู้รับบริการเป็นหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวน 30 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 45 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
     ผลการศึกษาพบว่า เริ่มมีการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ในเครือข่ายโรงพยาบาลหนองคายเต็มรูปแบบตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา การใช้ยาเป็นทางเลือกแรกที่แพทย์เลือกใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ การทำหัตถการด้วยกระบอกดูดสุญญากาศอาจกระทำร่วมกับการใช้ยาในรายที่การใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่ประสบผลสำเร็จ รูปแบบการจัดระบบบริการมีการรักษาความลับของผู้รับบริการได้มาก ผู้รับบริการได้รับความปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม (Standard of Practice for Comprehensive Safe Abortion Care). พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กฤตยา อาชวนิจกุลและคณะ. (2563). ท้องไม่พร้อมต้องอ่าน!. (พิมพ์ครั้งที่ 8) บริษัท พีเอ็นพี กรุ๊ป จำกัด เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม. นครปฐม.

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง. (2558). นโยบายการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย. เอกสารประกอบการอบรม การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาในระบบบริการสุขภาพตามโครงการ “เทโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์” 18-19 มิถุนายน 2558 ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี,.

กุลภา วจนสาระ และเบญจมาศ รอดภัย. (2558). รายงานสรุปการประชุมเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ครั้งที่ 36. ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ จัดโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ร่วมกับ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, (เอกสารอัดสำเนา). วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558.

ธนพันธ์ ชูบุญ. (2563). “สิทธิการทำแท้ง” ค้นเมือ 8 กันยายน 2566. จาก https://www.gotoknow.or/posts/14960

บุรเทพ โชคธนานุกุล และ กมลชนก ขำสุวรรณ. (2559). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น. วารสารประชากร, 4(2), 61-79

เบญจพร ปัญญายง. (2554). (บรรณาธิการ). คู่มือการให้ตำปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมสุขภาพจิต.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28. (2564). ราชกิจจานุเบิกษา เล่ม 138 ตอนที่ 10 ก ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564.

เรณู ชูนิล และสาลินี อุ่มมี. (2557). สรุปผลการอบรมการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาในระบบบริการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2557. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: กทม.

ลุงหมอเรืองกิตติ์. (2563). “ทางเลือกที่เดียวดาย มีโอกาสตายได้ ความจริงที่ซ่อนอยู่” RSATHAI. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2566. จาก http://www.rsathai.or/contents/17091.

วิชิตา คะแนนสิน. (2561). WHY? | ทำไมการทำแท้งจึงถูกกฎหมายในบางประเทศ ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2564 จาก https://adaybulletin.com/article-why-legal-status-of-abortion/17853

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กทม. โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

โรงพยาบาลหนองคาย. (2566). สถิติตัวชี้วัดประจำปี โรงพยาบาลหนองคาย. กลุ่มงานผู้ป่วยนอก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย.

อรรณพ ใจสำราญ และคณะ. (2565). รายงานการศึกษาวิจัยบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวมในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัท เฌอมาศ จำจัด. กทม.

Engender Health. COPE for Comprehensive Abortion Care. (2011). International Planed Parenthood Federation (IPPF).

ILaw. (2556). สถิติสธ.พบหญิงตายเพราะทำแท้ง 25-30 คนต่อปี บาดเจ็บ 30,000 – อายุต่ำกว่า 15 ปี ทำแท้งได้ไม่ผิดกฎหมาย ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566 จากจากเว็บไซต์ https://ilaw.or.th/node/2942

World Health Organization (WHO). (2014). Clinical practice handbook for Safe abortion.Geneva.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29