การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, มารดา, ตกเลือดหลังคลอด, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์ การพยาบาลในผู้คลอดตกเลือดหลังคลอดโดย เลือกกรณีศึกษา 2 ราย แบบเฉพาะเจาะจงในผู้คลอดที่เข้ารับบริการคลอด และมี ภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลภูเวียง ตั้งแต่ ธันวาคม 2565 ถึง พฤษภาคม 2566 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วย และญาติ
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาผู้คลอดทั้ง 2 ราย พบว่ามีความแตกต่างของการดำเนินการคลอด และปัจจัย ส่วนบุคคล รายที่ 1 ระยะเวลาการคลอด ใช้เวลา 27 ชั่วโมง 47 นาที สาเหตุการตกเลือดหลังคลอดจาก มดลูกหดรัดตัวไม่ดี รายที่ 2 รวมระยะเวลาการคลอด ใช้เวลา 6 ชั่วโมง 24 นาที สาเหตุการ ตกเลือดจาก มดลูกหดรัดตัวไม่ดี และเศษรกค้าง ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย
References
World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data; 2012.
กระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี: นโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. นนทบุรี: นโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.(2563).เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562-2564
ปิยะรัตน์ นิลอัยยกา. (2546).“การดูแลมารดาที่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการตกเลือดและการติดเชื้อในระยะหลังคลอด” ในการผดุงครรภ์ 2. มณีรัตน์ ภัทรจินดา, บรรณาธิการ. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิรุฬห์ สิทธิพล. (2020). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด: กรณีศึกษา. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 277-292.
ศิริวรรณ วิเลิศ. (2559). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด.
ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2): 146-57.