ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ตามแนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพแบบบูรณาการในชุมชน

ผู้แต่ง

  • จารุมน ลัคนาวิวัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง Corresponding author
  • มยุรี ลัคนาศิโรรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  • ประภา จันทร์ประทีป นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  • ณัฐกฤต สิทธิชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) วัดกลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง (The Pretest-Posttest One Group Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ตามแนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพแบบบูรณาการในชุมชน ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 - เดือนสิงหาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี (HbA1c ³ 7.0%) โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power version 3.1.9.4 ของ Jacob Cohen และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) ด้วยวิธีจับฉลากแบบไม่มีการแทนที่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดโดยพยาบาลวิชาชีพประจำสถานบริการปฐมภูมิ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ 4 ด้าน และออกแบบโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองโดยนำแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของเครียร์ 6 ขั้นตอน มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ด้วยสถิติ Paired Sample T-Test
     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ตามแนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพแบบบูรณาการในชุมชน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมทั้ง 4 ด้าน หลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และมีค่าน้ำตาลในเลือด HbA1c หลังได้รับโปรแกรมลดลงจากก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. 2564.

จารุมน ลัคนาวิวัฒน์, มยุรี ลัคนาศิโรรัตน์, ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์ และ ธีระยุทธ์ แซ่ฮ่อ. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผุ้ป่วยเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่สถานบริการปฐมภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566; 8(1):56-66.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566 จากhttps://trg.hdc.moph.go.th/hdc/admin/exchange_list.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

Creer, T. L. Self-management. In M. Bockaeets, R. Pintrich & M. Zeidner (Eds.), Handbook of Self regulation. San diego, California: Academic Press. 2000.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. (2nd Edition).1988.

Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J. The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence. Elsevier Health Sciences. 2012.

การประเมินคัดกรอง ADL. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 จาก https://shorturl.at/apKLY

พัชรี อ่างบุญตา, ลินจง โปธิบาล และ ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองแลระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้สูงอายุ). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2554.

รังสิมา รัตนศิลา, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, สิริประภา กลั่นกลิ่น และ พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้.วารสารพยาบาลสาธารณสุข.2558; 29(1):67-79.

วรรณภา สิทธิปาน และ ฉัตรชัย ไข่เกษ. ผลของโปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558; 32(1):68-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29