การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ พลเดช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกะเปอร์

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช  โดยกรณีศึกษาทั้ง 2 มีสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดต่างกัน กรณีศึกษาที่ 1 เกิด จากการติดเชื้อ Urinary  tract infection with E. Coli Sepsis infection Shock ที่ต้องได้รับการกำจัดแหล่งติดเชื้อโดยการให้ยาฆ่าเชื้อ กรณีศึกษาที่ 2 เกิดจากวินิจฉัย Bacterial pneumonia  with Urinary  tract infection with Septic shock  ทั้ง 2 กรณีศึกษามีอาการแสดงภาวะช็อกก่อนมาถึงโรงพยาบาล ภาวะช็อกจากการติดเชื้อทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษา Fluid Resuscitation และ Nor – epinephrine ทั้ง 2 กรณี มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลระยะวิกฤติที่คล้ายคลึงกันคือ มีได้แก่ 1) ปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจาภาวะช็อกจากการติดเชื้อ 2) มีภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ (Poor tissue perfusion) 3) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดกระจายในหลอดเลือด(DIC) จากToxin ของ Bacteria 4) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำเนินของโรค 5) ผู้ป่วยและญาติต้องการความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านตามหลัก D-M-E-T-H-O-D ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองรายที่แตกต่าง คือกรณีที่1 1) มีภาวะช็อกเนื่องจากUrinary tract infection 2)มีภาวะซีดHct 29%, Hb 9.1 gm/dl ได้รับ PRC 1 unit เพราะผู้ป่วยมีภาวะ Poor tissue perfusion และ eGFR 22.81L/minute ส่วนผู้ป่วยกรณีที่ 2  1) มีภาวะช็อกเนื่องจากภาวะติดเชื้อที่ปอดและระบบทางเดินปัสสาวะ 2) ใช้เวลาในการรักษาพยาบาลให้พ้นภาวะช็อกนานกว่าจากการที่ภาวะการทำงานของปอดและUrinary tract infectionมีการติดเชื้อร่วมด้วย 3) มีภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ ซึ่งปัญหาทั้ง 2 กรณีศึกษา พยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้ประเมินและคัดกรองผู้ป่วยทั้ง 2 คนในระยะแรกได้อย่างรวดเร็ว ให้การพยาบาลแบบมุ่งเป้าหมายใน 6 ชั่วโมงแรก ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแต่ละรายได้รับ การแก้ไขจนผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต อาการดีขึ้นไม่มีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษาที่ 1 พักรักษาตัวในโรงพยาบาล 9 วัน กรณีศึกษาที่ 2 พักรักษาตัวในโรงพยาบาล 10 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้โดยนัดติดตามผลอีก 1 สัปดาห์
     ผลลัพธ์: ภาวะช็อกจากการติดเชื้อกระแสเลือดหากได้รับการประเมิน การคัดกรอง การวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช นับว่าเป็นบุคคลสำคัญด่านหน้าในการดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในทุกระยะของการรักษาตั้งแต่กระบวนการในการคัดกรองผู้ป่วย การประเมิน การเฝ้าระวังติดตามอาการ ตลอดจนการประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ และส่งต่อผู้ป่วยไปยังแผนกต่างๆ ที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งบทบาทดังกล่าวนับว่าเป็นความท้าทายในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะในการพยาบาลขั้นสูงในการจัดการกับภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสำคัญหลักคือ การดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยเร็ว ที่สุดระบบการไหลเวียนโลหิตกลับคืนสู่สภาวะปกติดังเดิม ลดความรุนแรงจากความทุพลภาพที่อาจเกิดขึ้น และ ผู้ป่วยรอดพ้นจากภาวะวิกฤติต่อไป  

References

นิตยา อินทราวัฒนาและมุทิตาวนาภรณ์. (2558).โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์ สุขภาพ, 22(1), 81-92. บราลี ศีลประชา. (2563). ผลลัพธ์การใช้แนวทางเวชปฏิบัติรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาล ตรัง. Region 11 Medical Journal, 34(3), 35-46

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558).แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe sepsis และ Septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558, สืบค้น 28 มกราคม 2564, จาก https://www.scribd.com/document/308976515/ร่างแนวทางเวชปฏิบัติ-sepsis-และ-septic shock -2558.

พรทิพย์ แสงสง่า และนงนุช เคี่ยมการ (2558). ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์“Sepsis bundles” ในงานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาล สงขลา, วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 29(3), 403-410.

วิจิตรา กุสุมภ์และอรุณี เฮงยศมาก. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ: แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหประ ชาพาณิชย์.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ, ์ กรองกาญจน์ สังกาศ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, และยงค์ รงค์รุ่งเรือง. (2554). ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการSepsis. Nursing Science Journal of Thailand, 29(2), 102-110.

ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา, และวารินทร์ บินโฮเซ็น. (2560). คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อ ในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี . วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี, 6(2), 32-43

ทิฏฐิ ศรีวิชัย และวิมล อ่อนเส็ง. (2560). ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน.วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 9(2) : 152-162.

อ้อย เกิดมงคล. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิตและภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตโดยน าแนวคิดและแบนแผนสุขภาพตามทฤษฎีทางการพยาบาลของกอร์ดอน และทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์. LANNA PUBIC HEALTH JOURNAL. 44-51.

เนตรญา วิโรจวานิช. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Nursing and Health sciences. 2018; 12(1): 84-94.

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 16(2): 58-68.

คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. คู่มือแนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ severe sepsis/septic shock (internet). 2560 (เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2566). เข้าถึงได้จาก:http://www2.si.mahidol.ac.th/km/ knowledgeassets/sirirajknowledge/ sepsis/3545

นนทรัตน์ จำเริญวงค์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจาการติดเชื้อในกระแส เลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7(3):319-29

จริยา พันธุ์วิทยากุล และจิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. ว.กองการพยาบาล 2561;45(1):86-104.

อังคณา เกียรติมานะโรจน์.(2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลวาปีปทุม.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.5(9). 27-43

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Med 2017; 43(3):304-77.

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for the management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care Med 2013;41(2):580-637.

Beth MM, Elizabeth B. Managing sepsis and septic shock: Current guidelines and definitions. AJN 2018;118(2):34-9.

โรงพยาบาลกะเปอร์. สถิติการให้บริการผู้ป่วย septic shock ที่มารับบริการที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลกะเปอร์ 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29