การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคเบาหวาน, การติดเชื้อช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คางบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง โดยศึกษาในผู้ป่วยชายไทยอายุ 42 ปี รับส่งตัวจากโรงพยาบาลโคกเจริญ วันที่ 20 มิถุนายน 2565ด้วยอาการปวดเหงือก อ้าปากได้น้อย แก้มขวาบวมมาก 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล ตรวจพบฟันคุดซี่ที่ 48 เป็นฟันผุทะลุโพรงประสาท
ผลการศึกษา: การวินิจฉัย Rt submandibular space abscess ระยะก่อนตรวจ ผู้ป่วยไม่สุขสบายจากปวดบริเวณแก้มขวา เสี่ยงต่อทางเดินหายใจอุดกั้น มีภาวะไข้ ระยะขณะตรวจ มีการติดเชื้อบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล ภายหลังการตรวจ แพทย์มีแผนการรักษาให้รักษาในหอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก ระยะหลังตรวจ ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้เรื่องโรค เสี่ยงต่อภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจระหว่างย้ายไปหอผู้ป่วย เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหลังได้รับอินซูลิน ได้ให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้ ส่งผู้ป่วยรักษาต่อที่หอผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ได้รับการผ่าตัดระบายหนอง อาการดีขึ้นตามลำดับ จำหน่ายวันที่ 24 มิถุนายน 2565 รวมรักษาตัวในโรงพยาบาล 4 วัน
References
กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. (2562). ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(3), 321-32.
นันทกร ดำรงรุ่งเรือง. (2564). การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 41(1), 13-23.
ธารกมล อนุสิทธิ์ศุภการ. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มลำคอชั้นลึกร่วมกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 29(1) (ฉบับเสริม 1), 47-64.
พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. (2561). การอักเสบติดชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 62(5), 364-373.
รำไพ เกตุจิระโชติ. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในโพรงใต้คาง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(2), 191-205.
วัฒนา สินกิจเจริญชัย. (2559). โรคติดเชื้อในช่องพังผืดบริเวณศีรษะและลำคอ.ตำรา หู คอ จมูก. สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.
วิจิตรา กุสุมภ์ และ สุลี ทองวิเชียร. (2562). ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล : กรณีศึกษา.พี.เค.เค พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
อัศวิน เรืองมงคลเลิศ. (2560). การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลนครพนม.วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 4(3),5-15.
อนวัช วรรธนะมณีกุล. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลลัพธ์การรักษาการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 665-78.
Lee YQ, Kanagalingam J. (2011). Bacteriology of deep neck abscesses: a retrospective review of 96 consecutive cases. Singapore Med J, 52(5), 351-5.