การพัฒนาระบบนัดรายกลุ่มต่อการเข้ารับบริการตามวันนัดของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ประกอบอาชีพประมง โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร

ผู้แต่ง

  • กติยา นิธรรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

ระบบนัดรายกลุ่ม, ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, อาชีพประมง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบนัดรายกลุ่มต่อการเข้ารับบริการตามวันนัดของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ประกอบอาชีพประมง และเปรียบเทียบระดับความรู้ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ประกอบอาชีพประมง ระหว่างก่อนกับหลังพัฒนา ศึกษาในโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จังหวัดชุมพร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 - มกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อประกอบอาชีพประมง จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง แบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired samples t-test
     ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมระบบนัดรายกลุ่มต่อการเข้ารับบริการตามวันนัดของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ประกอบอาชีพประมง ดำเนินกิจกรรม 5 ครั้ง ดังนี้ 1) การจัดทำตารางนัดให้ตรงกับวันที่ผู้ป่วยเรือหยุด หรือตามกำหนดเรือเข้าฝั่ง และใช้ปฏิทิน ข้างขึ้น ข้างแรมในตารางนัด 2) การให้ความรู้ผู้ป่วย 3) การฝึกการประกอบอาหารของตัวเอง 4) ให้ผู้ป่วยสรุปปัญหาตนเอง 5) ให้ผู้ป่วยทบทวนความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยผิดนัดต่ำกว่า 10 ครั้ง ร้อยละ 54.9 สาเหตุการผิดนัดส่วนใหญ่คือ ลืมวันนัด และมียาเหลืออยู่ ร้อยละ 36.6 หลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมาตามนัดทุกครั้ง ร้อยละ 100.0 หลังพัฒนาผู้ป่วยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการดีขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนา ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ดัชนีมวลกาย จาก 29.03±5.74 เป็น 25.58±4.45 ความดันโลหิต systolic จาก 150.48±6.959 เป็น 142.76±13.51 ความดันโลหิต diastolic จาก 86.45±8.61 เป็น 82.72±9.70 น้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C จาก 8.52±2.10 เป็น 7.38±1.30 และไขมันในเลือด จาก 205.71±18.7 เป็น 169.93±37.0 ผู้ป่วยมีความรู้ในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยรวมหลังพัฒนาอยู่ในระดับมากเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87.3 เป็นร้อยละ 100.0 หลังพัฒนาผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนา จาก 51.34±4.38 เป็น 60.86±8.05 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference -9.521, 95%CI: 7.01-12.02, p<0.001) หลังพัฒนาผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนา โดยพบว่าผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มจาก 65.82±3.76 เป็น 80.87±3.84 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference -15.056, 95%CI: 14.06-16.05, p<0.001)

References

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กระทรวงสาธารณสุข. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2563.

นันทกร ทองแตง. รายการพบหมอศิริราช เรื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCD). ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565] เข้าถึงจาก https://www.si.mahidol.ac.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. เอกสารผลการดำเนินงาน การตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2565 เพื่อประกอบการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 จังหวัดชุมพร. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566] เข้าถึงจาก http://www.cmpo. moph.go.th/cmpo

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557.

Bloom. Hand Book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw Hill, 1997.

Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son, 1967.

รณธิชัย แสงสด. คุณภาพชีวิตของลูกเรือประมงอวนดำสัญชาติไทย กรณีศึกษา : แพปลา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎรธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2561.

ณัฐนนท์ พีระภาณุรักษ์. ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตและการปรับตัวตามแผนการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2564; 36(2): 115-31.

อภิญญา จิวสืบพงษ์. ความเชื่อมโยงของการจัดการตนเองเพื่อการดูแลโรคและการใช้ยากับบริบทการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.

Best J. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc, 1977.

นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล. "การพัฒนา (Development) คือ การทำให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ". [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2566] เข้าถึงจาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/485293

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby, 2001.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parson MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Upper Saddle River. N.J. : Prentia Hall, 2002.

จิรวัฒน์ บุญรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่เกาะ. Singburi Hospital Journal 2566; 31(3): 19-35.

ขวัญชนก อินทจักร์, เยาวลักษณ์ อ่าราไพ. การพัฒนาระบบการดูแลด้านยาภายใต้การมีส่วนร่วมของเภสัชกรในทีมสหสาขาวิชาชีพ: กรณีศึกษาคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2562; 14(3): 100-10.

Owusu MF. Effective management of non-communicable Diseases in GHANA: The case of hypertension and diabetes mellitus. A thesis in partial fulfilment of the requirements for the Degree of Doctor of Philosophy in Health Sciences in the University of Canterbury, 2019.

อมรรัตน์ มานะวัฒนวงศ์, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, กัญจนา ติษยาธิคม, วลัยพร พัชรนฤมล. ผู้ป่วยด้วย NCD มีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอยู่มากน้อยแค่ไหน: รายงานจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(3): 345-54.

นัสรา เกตจินดา, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของคนวัยกลางคน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2561;26(4):30-39.

วรางคณา คุ้มสุข, อุมากร ใจยั่งยืน. พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560; 36(2): 123-32.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, กฤติเดช มิ่งไม้, ศศิวิมล โพธิ์ภักตร์, สานุรักษ์ โพธิ์หา, สุชานรี พานิชเจริญ. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์ 2560; 15(2): 16-26.

ธนัญญา จิระพิบูลยพันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2561; 1(2): 34-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29