ประสิทธิผลแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์, เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด, การคลอดก่อนกำหนด, ระบบการเฝ้าระวังป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 28-36+6สัปดาห์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลบ้านผือ ในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2566 ทุกราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบคัดกรอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า 1) หญิงตั้งครรภ์มีปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด จำนวน 34 ราย คิดเป็น 73.91 % โดยหญิงตั้งครรภ์มีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อขึ้นไป 13 ราย ปัจจัยเสี่ยง ที่พบได้แก่ มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติของมดลูกหรือ ปากมดลูก เช่น เนื้องอก เคยผ่าตัดมดลูกรกเกาะต่ำ การติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ และ ทางเดินปัสสาวะ ความเครียด ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดหรือมีน้ำเดินปัจจัยส่งเสริม มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังเช่น DM, HT, Anemia, BMI มากหรือน้อยกว่าปกติ 2) ผลการประเมินกระบวนการการเฝ้าระวัง ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีสัญญาณเตือน/อาการที่นำส่งโรงพยาบาล จำนวนทั้งหมด 10 ราย ได้รับการดูแลตามแนวทางที่กำหนด ร้อยละ 100 3) หญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ลดลง
References
จรินทรทิพย สมประสิทธิ์. การเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนด. ใน คมสันติ์ สุวรรณฤกษ และ เดนศักดิ์พงศ์โรจน์เผา (บรรณาธิการ). ภาวะแทรกซ้อนทาง สูติศาสตร์ กรุงเทพฯ: พิมพดีสมุทรสาคร; 2554
พัญญู พันธ์บูรณะ. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน ถวัลยว์งค์ รัตนสิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ, และ สมศักดิ์สุทัศน์วรวุฒิ (บก.). สูติศาสตร์ฉุกเฉิน (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 91-130). สมุทรสาคร: พิมพ์ดี; 2554
Lamont RF, Spontaneous preterm labour that leads to preterm birth: An update and personal reflection. J placenta. 2019; 79: 21-29
มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. ดวงหทัย ศรีสุจริต ปราชญาวตี ยมานันตกุล ปราณี แสดคง วัจมัย สุขวนวัฒน์.(บรรณาธิการ).การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์: ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์. โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี: ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด. (21); 2554 28.
ณัฐญา เนตรหิน. สธ.เผยสถิติหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 6.4-8 หมื่นคน/ปีกว่า 1 หมื่นรายเด็กต้องอยู่ I.C.U.. สืบค้นได้จากhttp://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id =151171:64-8-1icu;2555
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2565). รายงานสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี (เอกสารอัดสำเนา)
สายฝน ชวาลไพบูลย์ และสุจินต์ กนกพงศศักดิ์. ภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด. เวชบันทึกศิริราช 2554; (2): 25-39.
เทียรทอง นิ่มศิริ. ความสามารถในการทำนายปัจจัยคัดสรรต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553
ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. ปัจจัยเสี่ยงที่เหมาะสมในการคัดกรองการคลอดก่อนกำหนด. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26 (1): S64-S69.
วรรณทนีย์ ลีฬหาพงศธร, พรทิพย์ จันทาทิพย์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในห้องคลอด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช.วารสารกองการพยาบาล. 2559;43(3): 46-62.
ศิริพร พงษ์โภคา, สุดประนอม สมันตเวคิน. ผลการดำเนินโครงการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2553;3(1): 84-105
โสพรรณ เรืองเจริญ. การสอนสตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดอุดรธานี ในโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เพื่อครอบครัวของเด็กและเยวชนไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศม์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร. 2557:59-61
กัลยา มณีโชติ, นิจ์สากร นังคลา. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล. 2560;44(2): 7-25