ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุวนันท์ แก้วจันทา อาจารย์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปริพัช เงินงาม อาจารย์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ณิศรา ชัยวงค์ อาจารย์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุธิดา วิริยา อาจารย์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปัญญรัช คำเสือ อาจารย์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การจัดบริการ, การแพทย์แผนไทย, เทศบาลตำบลบุญเรือง

บทคัดย่อ

     บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยของเทศบาลตำบลบุญเรือง ซึ่งเป็นการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้กระบวนการถอดบทเรียนจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการในพื้นที่ตำบลบุญเรือง โดยใช้วิธีการประชุมกลุ่ม เครื่องมือวิจัยที่เป็นแบบบันทึกการประชุมกลุ่ม
     ผลการการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนด้วยการแพทย์แผนไทยของเทศบาลตำบลบุญเรือง มี 3 ด้าน โดยปัจจัยที่ 1 ด้านหน่วยงานในท้องถิ่น เทศบาลมีนโยบายนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ บุคลากรทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาเทศบาลและบุคลากรประจำให้การสนับสนุนการจัดบริการดูแลสุขภาพ มีงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดบริการ ด้านบริบทแวดล้อมของพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งสมุนไพร และมีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งจะมีการส่งต่อผู้ป่วย และวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกมีส่วนช่วยในด้านวิชาการนำองค์ความรู้ไปใช้จัดบริการดูแลสุขภาพในพื้นที่ ปัจจัยที่ 2 ด้านผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์การจัดบริการสุขภาพ และปัจจัยที่ 3 ด้านประชาชนในพื้นที่ ผู้สูงอายุมีความต้องการให้แพทย์แผนไทยเข้ามาดูแล

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://planning.crru.ac.th/

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://www.mhesi.go.th/index.php/aboutus/legal-all/76-ministerial-regulation/3382-ministerial-regulation-University.html

พรพรรณ ก้อใจนคร จันต๊ะวงษ์ยิ่งยง เทาประเสริฐและชัยนรินทร์ เรือนเจริญ.การพัฒนาศักยภาพของพืชสมุนไพรสำหรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67]. 10(3): 293-301. เข้าถึงจาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/256263

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (RDI CRRU).U2T ตำบลเด่น จังหวัดเชียงราย[อินเทอร์เน็ต]. 2565[สืบค้นเมื่อ 29 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://www.youtube.com/watch?v=Hk328Dduak8&ab_channel=RDICRRU

ปริพัช เงินงามสุวนันท์ แก้วจันทาและณิศรา ชัยวงค์.แนวทางการดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชนด้วย การแพทย์แผนไทย กรณีศึกษา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67]. 10(2): 190-200. เข้าถึงจาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/254524

นันทิกานต์ พิลาวัลย์จักรกฤษณ์ คณารีย์ณัฐวุฒิ ใหม่นวลและกัญจนภรณ์ ธงทอง. การสำรวจพืชสมุนไพรในพื้นที่ป่าชุมชนเพื่อใช้เป็นแหล่งในการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67]. 11(2): 83-96. เข้าถึงจาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/254286

ปริพัช เงินงามผกามาศ คำเสือ ฐิติรัตน์ ชัยชนะ และศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์.การศึกษาปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น[อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67]. 7(2): 43-56. เข้าถึงจาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/265000

วุฒิพงศ์บุษราคัม.การกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาธรรมนูญสุขภาพตำบลโนนสมบูรณ์อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].7(2): 129-143. เข้าถึงจาก:https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/252520

กันตา วิลาชัยธัญญรัตน์ ไชยครามและขวัญตา เบ็ญจะขันธ์.การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67]. 15(2): 194-206.เข้าถึงจาก:https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9057

จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์วิภาดา กาญจนสิทธิ์ และณิชา ว่องไว.ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธในการดูแลมารดาหลังคลอด[อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].17(2): 618-630. เข้าถึงจาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/261535

สุปัญญดา สุนทรนนธ์.ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รางวัล การบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].9(5): 372-387. เข้าถึงจาก:https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/261272

วินิจ ผาเจริญ และชาญชัย ฤทธิร่วม.การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาบ้านตลาดขี้เหล็ก ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].3(1): 47-58. เข้าถึงจาก:https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/385

ดนุช ตันเทิดทิตย์ และสัมพันธ์ เย็นสำราญ.การถอดบทเรียนโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ประเทศไทย (U2T for BCG). วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].17(1): 26-39. เข้าถึงจาก:https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/264030

ยุทธนา คล้ายอยู่ณัฐปภัสร์ ฤทธิ์วัฒนวาณิชสุรัชฎา เมฆขลาและเกวลี แก่นจันดา. บริการวิชาการเพื่อสังคมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67]. 12(1): 176-187. เข้าถึงจาก:https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/265779

ศิริวรรณ เกตุเพชรชฎาพร แซ่ม้าและนิตยา นามวิเศษ. การศึกษาความหลากหลายของพืชอาหารและโอกาสในการใช้ประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].10(1): 14-27. เข้าถึงจาก:https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268189

ศมลวรรณ วรกาญจน์. การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].4(2): 69-96. เข้าถึงจาก:https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/254432

นคร จันต๊ะวงษ์รุสนี มามะโชคชัย แซ่ว่างศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงศ์ และชัยนรินทร์ เรือนเจริญ. การพัฒนานวัตกรรมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยสมุนไพรใกล้มือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 67].10(1): 245-256. เข้าถึงจาก:https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/249381

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30