ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การจัดการตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม เปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการจัดการตนเอง เพื่อเปรียบเทียบความรู้การจัดการตนเอง เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเอง และเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting plasma glucose) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS ) ≥ 140 มก./ดล. 2 ครั้ง ติดต่อกันที่คลินิกเบาหวาน ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 เลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ในการดูแลตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานเปรียบเทียบก่อนหลังด้วย Paired T-Test
ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t59 = 21.14, p<0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t59 = 17.85,p<0.001) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t59=9.95, p<0.001)
References
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข่าวในรั้วสาธารณสุข. [Internet].สิงหาคม 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2566]. แหล่งข้อมูล https://pr.moph.go.th/? url= pr/ detail/2/02/181256/
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี รายงานสถานการณ์โรคเบาหวาน พ.ศ. 2563 [Internet]. สิงหาคม 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2566]. แหล่งข้อมูล http://www.dmthai.org
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดีย.
Zhang P, et al. (2010). Global healthcare expenditure on diabetes for 2010 and 2030. Diabetes research and clinical practice. 87(3): 293-301.
Chatterjee S. et al. (2011). Cost of diabetes and its complications in Thailand: a complete picture of economic burden. Health and social care in the community. 19(3), 289-98.
ราม รังสินธุ์และคณะ. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
Stratton IM, Adler AI, Neil HA, et al. (2000). Association of glycaemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35): prospective observational study. British medical journal. 321(7258): 405-12.
American Diabetes Association. (2013). Position statement: Standard of medical care in diabetes-2013. Diabetes Care. 36(Supplement_1): S11-S66.
กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และสุนีย์ ละกำปั่น. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 25(2): 87-103.
ไชยา ท่าแดง. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรางคณา บุตรศรี, รัตนา บุญพา และชาญณรงค์ สิงห์บรรณ. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 18(1), 13-25.
สาวิตรี นามพะธาย. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ . มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สยุมพร สมประสิทธิ์. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน.
Kanfer, F.H.& Gaelick-bays, L. (1991). Self-management Method. In Kanfer FH Goldstein A, editors. Helping people change: A text book at methods. New York: Pergumon press.
Creer, T. L. (2000). Self-management and the control of chronic pediatric illness. In D. Drotar (Ed.). Promoting adherence to medical treatment in chronic childhood illness. Mawah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.