การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่มีเลือดออกในสมองและมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด ร่วมกับมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
บาดเจ็บศีรษะ, เลือดออกในสมอง, เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด, ภาวะเกล็ดเลือดต่ำบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่มีเลือดออกในสมองและมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมกับมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 43 ปี มีประวัติเกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์
จากการศึกษาพบว่า การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การดูแลเนื้อเยื่อของร่างกายรวมถึงเนื้อเยื่อสมองให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะความดันในกะโหลกสูงขึ้น ได้แก่ ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ ลดอุณหภูมิร่างกาย หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความดันในช่องอกและช่องท้องเพิ่มขึ้น ลดความเจ็บปวด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการชัก ประเมิน รักษาความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ ดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งผลการพยาบาลทำให้ปัญหาคุกคามชีวิตผู้ป่วยถูกแก้ไขหมดไป ผู้ป่วยปลอดภัย รอดชีวิต และมีความบกพร่องทางระบบประสาทน้อยที่สุด
References
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และสำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงจาก: https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2563-06/25630601-Road Accident Ana2562_Final.pdf
สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ. โครงการสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ในเชิงลึก [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงจาก: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/a556c692-e7fc-ec11-80fa-00155db45613
พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, ณัฐปราง นิตยสุทธิ์ และกาญจนีย์ ดานาคแก้ว. การศึกษาทางระบาดวิทยาการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนในผู้ใช้รถจักรยานยนต์และการทบทวนมาตรการเกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2559; 47(25): 385-393.
ปองปรีดา แสนจิตต์, ณัฐวุฒิ เจริญศุภพงษ์, วิชุดา จิรพรเจริญ และชนาภัทร ปาตีคำ. การเกิดภาวะบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางการจราจรในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2563; 14(3): 5-17.
อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์ และอรไท โพธิ์ไชยแสน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561; 29(3): 126-138.
สุริยะ ปิยผดุงกิจ. การรอดชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดภาวะเลือดออกในสมองแปรตามระยะ Midline Shift ในภาพถ่ายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์และความสำคัญของ ICU หลังผ่าตัด โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(4): 660-669.
จีรพร อินนอก. กระบวนการการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง: กรณีศึกษาหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมอุบัติเหตุโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2566; 20(1): 252 - 268.
ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2563- 2565 [อินทราเน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงจาก:http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/
กัญญาณัฐ เกิดชื่น, ยุพาพร จิตตะสุสุทโธ และชุติมา. ปัญญาประดิษฐ์. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงตั้งแต่ในโรงพยาบาลสู่การดูแลที่บ้าน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565; 28(1): 1-13.