อุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกและวิธีปฏิบัติตัวที่ดีในการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์, เชื้อเอชไอวี, กระบวนการจัดการภายใน, กระบวนการจัดการภายนอกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในเด็กที่คลอดจากแม่ติเชื้อเอชไอวี วิธีปฏิบัติตัวที่ดีในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก และพัฒนารูปแบบการปฏิบัติตัวที่ดีของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ในการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ แบ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 66 ตัวอย่าง ได้แก่กลุ่มตัวอย่างในบันทึกงานเวชระเบียน 52 ตัวอย่าง กลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV จำนวน 9 ราย และ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน จำนวน 5 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบวิธีปฏิบัติตัวที่ดีในการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกและ 3) ระยะติดตามผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบ ผู้วิจัยประยุกต์ ผสมผสานขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและขั้นสะท้อนกลับ ในระยะดำเนินการทั้ง 3 ระยะ ผลการวิจัยรูปแบบการปฏิบัติตัวที่ดีของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ในการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ที่ได้รับการให้คำปรึกษา ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อจำนวน 50 ราย พบว่าไม่ติดเชื้อจำนวน 50 ราย ร้อยละ 100
References
Usama Irshad, Heba Mahdy, and Tiffany Tonismae. (2023). HIV in Pregnancy.Retrieved on August 11, 2023 from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK558972/
กรมควบคุมโรค. (2565). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/ 2565. กระทรวงสาธารณสุข: กรมควบคุมโรค
HIV.gov. (2023). Preventing Perinatal Transmission of HIV. Retrieved on August 11, 2023 from https://www.hiv.gov/hiv-basics/hiv-prevention/reducing-mother-to-child-risk/preventing-mother-to-child-transmission-of-hiv/
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. (2566). ทะเบียนการให้คำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์. หนองคาย:โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2548).การจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ BEST PRACTICE.สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.
ช่อผกา หนูรอด, จิรพงษ์ แสงทอง, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์และสมเกียรติยศ วรเดช. (2562). ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 28 ฉบับเพิ่มเติม 1, กรกฎาคม - สิงหาคม 2562. S14- S22.
ภัทรวรรณ เลิศไชยพานนท์. (2564). อัตราการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในโรงพยาบาลบางสะพานในรอบสิบปีที่ผ่านมา. วารสารแพทย์เขต 4-5. ปีที่ 40 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2564. หน้า 539-547.
จอนผะจง เพ็งจาด. (2553). การใช้ทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของของวัตสันในการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. วารสารสภากาชาดไทย. ปีที่ 3 ฉ.1-3 ม.ค.-ธ.ค.53. หน้า 4-5.
ทวีพร เตชะรัตนมณี. (2547). ความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลตนเองและการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://www.thabohospital.com/thabo/content_id_99.html