เปรียบเทียบการคงสภาพความปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์ที่ทำให้ปราศจากเชื้อโดยการนึ่งไอน้ำที่ห่อด้วย Non Woven 2 ผืน ระหว่างระยะเวลา 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ ศิริมานพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • ชุติญา วังวรวุฒิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • คมเนตร สกุลธนะศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ผ้าไม่ถักทอ, เครื่องมือแพทย์ , ระยะปลอดเชื้อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงทดลองนี้เพื่อเปรียบเทียบการคงสภาพความปราศจากเชื้อของเครื่องมือแพทย์ที่ทำให้ปราศจากเชื้อ โดยการนึ่งไอน้ำที่ห่อด้วย Non Woven 2 ผืน ระหว่างระยะเวลา 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตัวอย่างได้แก่ ห่อเครื่องมือแพทย์ที่ห่อด้วย non woven 2 ผืนและทำให้ปราศจากเชื้อโดยการนึ่งไอน้ำภายใต้แรงดันตามมาตรฐาน หน่วยจ่ายกลาง สุ่มตัวอย่างประเมินผลที่ 4 สัปดาห์ 375 ห่อ และ 8 สัปดาห์ 375 ห่อ ตามลำดับ เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของห่อ เครื่องมือแพทย์ วันหมดอายุ การไม่หลุดลุ่ย สภาพกระดาษเทปกาว คงสภาพแถบ Autoclave tape อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์บริเวณชั้นวางและความปลอดเชื้อจุลินทรีย์ที่ 4 และ 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและประมาณค่าแบบจุดเปรียบเทียบเกณ์มาตรฐานที่ระดับสำคัญทางสถิติที่ 0.01
     ผลการวิจัยพบว่า ห่อเครื่องมือแพทย์ไม่ขาด ไม่หลุดลุ่ย กระดาษเทปกาวที่ติดเพื่อยึด Non woven ติดแน่น ไม่เผยอออกหรือฉีกขาด ไม่เปียกชื้น ความสมบูรณ์ทางกายภาพที่ 4 สัปดาห์อยู่ที่ร้อยละ 99.8 (p<0.01*) และระยะ 8 สัปดาห์ร้อยละ 98.6 (p<0.01*) มีการหลุดลุ่ยร้อยละ 1.4 ผลการวัดอุณหภูมิที่ระยะ 4 สัปดาห์เฉลี่ย 24.4-30.2 องศาเซลเซียส (p>0.01) และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 59.6-67.1 (p<0.01*) และระยะ 8 สัปดาห์ ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ร้อยละ 100-100 (p<0.01*) และที่ระยะ 8 สัปดาห์อุณหภูมิเฉลี่ย 26.6-27.7 องศาเซลเซียส (p>0.01) และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 52.5-58.1 (p<0.01*) ไม่พบการปนเปื้อนทั้งในระยะ 4 และ 8 สัปดาห์ร้อยละ 100-100 (p<0.01*)

References

Egger, R. Overviiew of the situation worldwide: highlight of achievements and gaps [Internet]. 2022. Available from: https://apps.who.int/gb/MSPI/pdf_files/2022/03/Item1_07-03.pdf

Russo, P.L., Stewardson, A.J., Cheng, A.C., Bucknall, T., Mitchell, B.G. The prevalence of healthcare associated infections among adult inpatients at nineteen large Australian acute-care public hospitals: a point prevalence survey. Ntimicrob Resist Infect Control. 2019;15(8):114–21.

Centers for Disease Control and Prevention , author. National Nosocomial Infections Surveillance (NNIS) System report, data summary from January 1992 through June 2004, issued October 2004. Am J Infect Control. 2004;32:470–85.

Weigelt, J.A., Lipsky, B.A., Tabak, Y.P., et al. Surgical site infections: Causative pathogens and associated outcomes. Am J Infect Control. 2010;38:112–20.

Ferreira, E., Pina, E., Sousa-Uva, M., Sousa-Uva, A. Risk factors for health care–associated infections: From better knowledge to better prevention. Am J Infect Control. 2017;45:e103-107.

Humphreys, H. Preventing surgical site infection. Where now? J Hosp Infect. 2009;73:316–22.

Mangram, A.J., Horan, T.C., Pearson ML, et al. Guideline for prevention of surgical site infection 1999. Infect Control Hosp Epidemiol. 1999;(20):247–78.

Dharan, S., Pittet, D. Environmental controls in operating theatres. J Hosp Infect. 2002;51(2):155–9.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. รายงานอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับประเทศ ปี 2565. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2565.

WHO. Report on the Burden of Endemic Health Care-Associated Infection Worldwide [Internet]. 2019. Available from: https: //apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/80135/9789241501507_eng.pdf;jsessionid=86B33E75BBE594E6C2CBD998F1C8 8CA5?sequence=1

Garvey, M. Medical Device-Associated Healthcare Infections: Sterilization and the Potential of Novel Biological Approaches to Ensure Patient Safety. Int J Mol Sci. 2024;25(1):201–9.

ธนิดา อินทะจักร์. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล : ประสิทธิผลของการทําลายเชื้อสําหรับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2560;3(1):64–76.

ASHRAE. 2017 ASHARAE Handbook. Washinton: American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers; 2017.

Morton ,P.J., Conner, R. Implementing AORN recommended practices for selection and use of packaging systems for sterilization. AORN J. 2014;99(4):495–502.

Krohn, M., Fengler, J., Mickley, T., Flessa, S. Analysis of processes and costs of alternative packaging options of sterile goods in hospitals – a case study in two German hospitals. Health Econ Rev. 2019;9(1):1–17.

Müller, W.W., Saathoff, F. Geosynthetics in geoenvironmental engineering. Sci Technol Adv Mater. 2015;16(3):034605.

Fibre2Fashion. Global Nonwovens: Recent Trends And Future [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 12]. Available from: https://www.technicaltextile.net/articles/global-nonwovens-recent-trends-and-future-7939

Webster, J., Radke, E., George, N., Faoagali, J. Barrier properties and cost implications of a single versus a double wrap for storing sterile instrument packs. Am J Infect Control. 2005;33(6):348–52.

Parthasarathi, V., Thilagavathi G. Developing antiviral surgical gown using nonwoven fabrics for health care sector. Afr Health Sci. 2013;13(2):327–32.

ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา. สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย: การแปลผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดด้วยตนเอง [Internet]. 2566. Available from: https://tsh.or.th/Knowledge/Details/34#:

งานควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. รายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: งานควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2565.

Daneil, W.W., Cross CL. Biostatistics: A foundation for analysis in the Health Sciences. 10th ed. NJ: JohnWiley & Sons; 2013.

Song Ja C., Jeong Hee, J., Kyoung Mi, C., Mi Young, K., Joo Hee, P., Na Yeon, J. Study on the Shelf Life of Sterilized Products according to Packaging Materials. J Korean Clin Nurs Res. 2019;25(3):333–41.

de Araújo Moriya, G.A., Graziano, K.U. Sterility Maintenance Assessment of Moist/Wet Material After Steam Sterilization and 30-day Storage. Rev Lat-Am Enferm. 2010;18(4):787–91.

Devadiga, G.S., Thomas. V.M.P., Shetty, S., Setia, M.S. Is non‑woven fabric a useful method of packaging instruments for operation theatres in resource constrained settings? Indian J Med Microbiol. 2015;33(2):245–7.

Tolner, B., Poolman, B., Konings, W.N. Adaptation of microorganisms and their transport systems to high temperatures. Comp Biochem Physiol Physiol. 1997;118(3):423–8.

Cheng, S., Muhaiminul, S.M., Yue, Z., Wang, Y., Xiao, Y., Militky, J., Prasad, M. and Zhu, G. Effect of Temperature on the Structure and Filtration Performance of Polypropylene Melt-Blown Nonwovens. J Autex Res J. 2021;21(2):207–17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30