การพัฒนาแนวทางจัดการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อในเครือข่ายโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ลักขณา สุวรรณรอด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

อุปกรณ์การแพทย์ปลอดเชื้อ, แนวทางการใช้อุปกรณ์การแพทย์ปลอดเชื้อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวทางจัดการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อในเครือข่ายโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจ่ายกลาง จำนวน 64 คนได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้แบบประเมินความรู้ จำนวน 30 ข้อโดยมีค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์แอนด์ริชาร์ทสัน (KR-20)  เท่ากับ .82  และแบบวัดระดับการปฏิบัติการจัดการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ มีค่าความเชื่อมั่นของอัลฟ่าครอนบาช เท่ากับ 0.84  แบบสอบถามเชิงคุณภาพการสนทนากลุ่มและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกมีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00   เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ตุลาคม 2566 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาแนวทาง,และประเมินผลการพัฒนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยค่าสถิติพื้นฐานและสถิติเปรียบเทียบ Paired t-test วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 
     ผลการวิจัย พบว่า แนวทางจัดการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ ได้แก่ 1) โรงพยาบาลแม่ข่ายดูแลสนับสนุนการใช้ครุภัณฑ์เครื่องนึ่งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง  2) จัดระบบรับ-ส่งเครื่องมือเป็นรายวันเพื่อให้มีปริมาณงานเหมาะสม3) โรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นศูนย์กลางในการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีการอบ มีตารางรับ-ส่ง ชุดเครื่องมือปราศจากเชื้อ 4)โรงพยาบาลแม่ข่าย จัดระบบการขนส่งชุดเครื่องมือให้เป็นระบบปิดถูกต้องตามหลักวิชาการ จัดหาชุดอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย และสนับสนุนอุปกรณ์ที่ขาดแคลน 5) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งจัดระบบตรวจสอบและสำรองเครื่องมือการแพทย์ให้หมุนเวียนเพียงพอ เมื่อประเมินความรู้และการปฏิบัติการจัดการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อก่อนการพัฒนาแนวทาง พบว่าคะแนนความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 76.60 (Mean=15.30, S.D.=4.18) และหลังการพัฒนา พบว่าความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 90.60 (Mean=25.36, S.D.=1.68). เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05.  การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 50.00. รองลงมา อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.90 (Mean=2.60, S.D.=0.54).  หลังการพัฒนา พบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 89.06  (Mean=3.89, S.D.=0.34). ผลการเปรียบเทียบคะแนนการปฏิบัติ หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2551). Patien safety gold:SIMPLE. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (สรพ.).

การบริหารงานจ่ายกลาง (Central Sterile Supply Management) จาก http://www.cssd-gotoknow.org/2022/06/central-sterile-supply-management.html สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566

สรุปผลการดำเนินงานหน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลโพนพิสัย. (2565). เอกสารอัดสำเนา. อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย: หนองคาย.

ทรรศนีย์ นครชัย และ ชุลีรัตน์ สาระรัตน์. (2561). การพัฒนาระบบบริการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาล โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมแบบครบวงจร. วารสารการพยาบาลสุขภาพ. 1(3), 26-34.

เทียนทิพย์ บัณฑุพาณิชย์. (2020). การพัฒนาการจัดการห่วงโซ่อุปทานของเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทยภายใต้งบประมาณที่จำกัด. วารสารพยาบาลตำรวจ. 12(1), 13-27.

ดวงพร พงษ์ศรีลา, พลอยนภัส ธนากุลธัญสิทธิ์ และ สมฤดี ชัชเวช. (2561). ผลของการรับ-ส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบ Jet In Time งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต11. 32(4), 1383 – 1396.

นฤมล พินิจ (2565). การพัฒนาแนวทางการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. Journal of Nursing and Public Health Research.2022, 2(2), 38-54.

ประพิมพรรณ เกรียงวัฒนศิริ. (2563). การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานสำาหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 16(1), 65-76.

ลดาวัลย์ พลวิเศษและ นภัทร ศรีสร้อย. ( 2562). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันเครื่องมือผ่าตัดสูญหายในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลวานรนิวาส. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 6(3), 45-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30