การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุด้วยกระบวนการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองวังสะพุง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตร และรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้กลไกในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองวังสะพุง 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตร และรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้กลไกในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองวังสะพุง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองวังสะพุง และตำบลวังสะพุง รวมทั้งหมด 3,057 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกลไกโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 32 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้กลไกในโรงเรียนผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถามความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ก่อน หลังการใช้รูปแบบฯ ด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยกลไกโรงเรียนผู้สูงอายุที่เหมาะสมประกอบไปด้วยองค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการดำเนินงาน เช่น การกำหนดกลไกการบริหารโรงเรียน การจัดตั้งคณะกรรมการ การจัดทำหลักสูตร การประชาสัมพันธ์ 2) คณะกรรมการ เช่น คณะผู้บริหารและบุคลากรโรงเรียนผู้สูงอายุ คณะจัดทำหลักสูตร และคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ 3) สถานที่ในการจัดการเรียนการสอน 4) งบประมาณในการดำเนินงาน และ 5) ส่วนประกอบของหลักสูตร 2. ระดับความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรมอนามัย. (2566). โครงการเฝ้าระวัง และพัฒนาสารสนเทศสุขภาพผู้สูงอายุ. [ออนไลน์].เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566. แหล่งข้อมูล : https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=6238
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560) สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566. แหล่งข้อมูล : https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1605680859-197_0.pdf
Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2560). สรุปผลสำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566. แหล่งข้อมูล : https://www.m-society.go.th/news_view.php?nid=22144
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2567). องค์ประกอบการจัดการความรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566. แหล่งข้อมูล : https://www.nstda.or.th/home/knowledge_
วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝกอบรม : คูมือการฝกอบรมและพัฒนาบุคคล. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ขวัญเรือน ชัยนันท์ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5 (1). 91 – 107.
พรนิภา วิชัย และคณะ. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10 (2), 26 – 35.
สุทิน อ้อนอุบล. (2564). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 8 (2), 68 – 87.