การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิพิศน์ อินทร์พันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

มารดาหลังผ่าตัดคลอด, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, เบาหวานขณะตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร โดยศึกษาในมารดาหลังคลอด อายุ 42 ปี อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าด้านมารดาการพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ ป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายพร่องออกซิเจนจากสูญสียเลือดในระบบไหลเวียนเลือด ป้องกันการตกเลือดซ้ำจากมดลูกหดตัวไม่ดี ป้องกันมารดาเกิดภาวะชักในระยะหลังคลอด ป้องกันการเกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและเป็นโรคเบาหวานหลังคลอด ลดความวิตกกังวลในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดคลอดและการดูแลทารก ด้านทารกมีการพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ ป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

References

ชญาดา เนตรกระจ่าง. การเสริมสร้างความเข็มแข็งในการจัดการภาวะเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์. วารสารศูนย์การแพทย์ศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2560; 36(2): 168-177.

International Diabetes Federation [IDF]. Care & prevent gestational diabetes [internet].2017. [cited 2023 March 20] Available from https://www.idf.org/our activities/care prevention/gdm.html

กนกอร ปัญญาโส, ศิริวรรณ แสงอินทร์, และอุษา เชื้อหอม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของหญิงตั้งครรภที่มีภาวะเบาหวานในโรงพยาบาลรัฐบาล เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารคณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 28(3): 27-40.

วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มลิวัลย์ บุตรดํา, ทัศณีย์ หนูนารถ, และเบญจวรรณ ละหุการ. ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาลกับการดูแล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2562; 9(2): 100-113.

Makwana M. Gestational diabetes mellitus with its maternal and fetal outcome: a clinical study International. Journal of Advances in Medicine 2017; 4(4): 919-925.

Butalia S., Audibert F., Cote AM., Firoz, T., Logan AG., & Magee LA. Guidelines for the Management of Hypertension in Pregnancy. Canadian Journal of Cardiology 2018; 34(5): 526-531.

รุจิรา ภารพบ. ผลลัพธ์ของการรักษาประคับประคองเทียบกับการรักษาแบบเร่งรัดให้คลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2559; 30(1): 7-14.

นิสาชล สุขแก้ว, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ประสบการณ์การดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564; 8(3): 117-129.

ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2563 - 2565 [อินทราเน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงจาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in Pregnancy) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6655/

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, และอรพินท์ สีขาว. การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 50-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30