การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรียของประชาชนในเขตพื้นที่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • วิสิฐศักดิ์ พิริยานนท์
  • พุทธิไกร ประมวล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, มาลาเรีย, ชายแดนไทย-กัมพูชา, อำเภอขุนหาญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรียของประชาชนในเขตพื้นที่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบฯ ตามกระบวนการของ PDCA และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ Independent t-test พบว่า มี 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรีย ได้แก่ ความรู้และความรอบรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรีย โดยประชาชนที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรียในระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรีย มากกว่าประชาชนที่มีความรู้ระดับไม่ดี 3.73 คะแนน (Adjusted mean diff = 3.73, 95% CI: 1.68 to 5.78) และประชาชนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมาลาเรียในระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรีย มากกว่าประชาชนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับไม่ดี 7.60 คะแนน (Adjusted mean diff = 7.60, 95% CI: 5.50 to 9.71) รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรียของประชาชนในเขตพื้นที่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอขุนหาญ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสร้างชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคมาลาเรีย 2) กิจกรรมสร้างความรู้และทักษะในการป้องกันโรคมาลาเรีย 3) กิจกรรมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมาลาเรีย 4) การสนับสนุนด้านวิชาการ วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ 5) การสร้างคุณค่าและบุคคลต้นแบบในการป้องกันโรคมาลาเรีย และ 6) การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และพบว่า หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรียมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ประยุทธ สุดาทิพย์, เสาวนิต วิชัยขัทคะ, และสุธีรา พูลลิน. (2554). การประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรียโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 43 จังหวัด ภายใต้โครงการกองทุนโลกรอบที่ 7: การประเมินเชิงนโยบายและผลกระทบการดำเนินงาน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 7(3), 225-239.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2559). ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569 แผนปฏิบัติการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2558). รายงานประจำปี 2558 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไชน์.

รุ่งระวี ทิพย์มนตรี และนารถลดา ขันติกุล. (2557). ความรู้เรื่องไข้มาลาเรียสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ปรมัตถ์การพิมพ์ จำกัด.

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.1 อุบลราชธานี. (2567). เอกสารบรรยายยุทธศาสตร์การกำจัดโรคมาลาเรียและสถานการณ์โรคมาลาเรีย. [เอกสารอัดสำเนา]. อุบลราชธานี: ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.1 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค. (2561). รายงานประจำปี 2561 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). สรุปผลการดำเนินงานโรคมาลาเรีย จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2566. [เอกสารอัดสำเนา]. ศรีสะเกษ: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2561). สรุปผลการดำเนินงานโรคมาลาเรีย จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2561. [เอกสารอัดสำเนา]. ศรีสะเกษ: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.

Kelley, K., & Maxwell, S. E. (2003). Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological methods, 8(3), 305.

ลำพูน วรจักร์ และพุทธิไกร ประมวล. (2563). ผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบราชธานี. 3(3): 175-186.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rded.). Victoria: Deakin University.

พงษ์เดช สารการ. (2558). ชีวสถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะหห์ข้อมูล: STATA10. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรศักดิ์ คันศร และกุลชญา ลอยหา. (2562). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 26(3): 25-35.

ทรงเกียรติ ยุระศรี และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีวามสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14(1): 29-36.

สะใบทอง หาญบุ่งคล้า และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียที่เป็นโรคประจำถิ่นในจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2558. วารสารควบคุมโรค, 43(4), 423-435.

Girum, T., Hailemikael, G., & Wondimu, A. (2017). Factors affecting prevention and control of malaria among endemic areas of Gurage zone: An implication for malaria elimination in South Ethiopia, 2017. Tropical Diseases, Travel Medicine and Vaccines, 3(1), 1–9.

วีระ กองสนั่น และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 3(1): 35-44.

Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 15(3): 259-267.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 44(3): 183-197.

จีระศักดิ์ กรมาทิตย์สุข, ชาตรี ประชาพิพัฒน์ และสาโรจน์ เพชรมณี. (2559). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังชุมชนในการป้องกันโรคมาลาเรีย บ้านท่านหญิง ตำบลตะกุกเนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(2): 153-166.

สมหมาย งึมประโคน, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และสมศักดิ์ ศรีภักดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรียโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดขอนแก่น. 23(1): 35-45.

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health education monographs. 2(4): 354-386.

เดือนนภา ศิริบูรณ์ และนพรัตน์ ส่งเสริม. (2559). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย ของตัวแทนครัวเรือน ตําบลโดมประดิษฐ์ อําเภอน้ํายืน จังหวัดอุบลราชธานี. SNRU journal of science and technology. 8(3): 292-300.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30