รูปแบบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ภายใต้กลไกความร่วมมือ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ, , คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ และสร้างรูปแบบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ภายใต้กลไกความร่วมมือของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ ในพื้นที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แนวคำถามสนทนา และแบบบันทึกสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 - มีนาคม 2567 โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ Wilcoxon signed-rank test
ผลการศึกษา ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาแอลกอฮอล์ภาพรวมของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติในพื้นที่ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์มีเพียงยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ในพื้นที่มีการดำเนินงานในระดับมาก ส่วนอีก 4 ยุทธศาสตร์ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และผลการศึกษาการสร้างรูปแบบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ภายใต้กลไกความร่วมมือของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อน 2) ขับเคลื่อนงานโดยการบูรณาการทุกภาคส่วน 3) สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ 4) เสนอแนะและเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน และ5) ติดตามและประเมินผลงาน ซึ่งจากทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในพื้นที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้กรอบแนวคิดประเมินผล CIPP Model พบว่า สถานการณ์ปัญหาแอลกอฮอล์ในพื้นที่ลดลง ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กานต์นะรัตน์ จรามร, นัทวดี เนียมนุ้ย และไพโจรน์ เสาน่วม. การพัฒนารูปแบบการดำ เนินงาน ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;2:268-276.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนากยกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561. นนทบุรี: ม.ป.ท.: 2561
นิพนธ์ ชินานนท์เวช และคณะ. สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559
นงเยาว์ ชิลวรรณ์ และซอฟียะห์ นิมะ. รูปแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และสารเสพติด ภายใต้ลไกความร่วมมือของคระกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2564;2:1-17.
พลเทพ วิจิตรคุณากร. รายงานสถานการณ์ การบริโภคแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ:สหพัฒนาการพิมพ์; 2565
วรานิษฐ์ ลำไย, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล และผ่องพรรณ ภะโว. การประเมินผลแผนยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์ระดับชาติ (2554-2563). วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2564;1:62-78.
วิชญ์ เกษมทรัพย์ และคณะ. โครงการศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างงานวิจัยด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. ม.ป.ท.: 2556
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. แผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอออล์ระดับชาติ. นนทบุรี: บริษัท เดอ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; ม.ป.ป.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2560. นครปฐม: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด; 2560
สาวิตรี อัญณางค์กรชัย. รายงานสถานการณ์ การบริโภคแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปี พ.ศ. 2564.กรุงเทพฯ: สหพัฒนาการพิมพ์; 2565
สุธาทิพย์ ศรีหิรัญ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ม.ป.ท.: 2558
สุรศักดิ์ ไชยสงค์, โศภิต นาสืบ, กมลพัฒน์ มากแจ้ง และคณะ. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. คู่มือการประเมินการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด(Handbook for Evaluation of Provincial Alcohol Control) สงขลา: ม.ป.ท.: 2562
สมพงษ์ จันทร์ขอนแก่น. การศึกษาพัฒนารูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;3:30-41
อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, พลเทพวิจิตรคุณากร และสาวิตรี อัญณางค์กรชัย. ข้อเท็จจริงและตัวเลข: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. สงขลา. ม.ป.ท.: 2559
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 Kick off to the goals. นนทบุรี; 2558
Stufflebeam DL and Zhang G. The CIPP evaluation model: how to evaluate for improvement and accountability. Guilford Publications. 2017