ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำหวานกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
คำสำคัญ:
น้ำหวาน, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำหวาน และปัจจัยร่วมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระหว่าง 55-70 มก./ดล. จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ น้ำหวานชนิดเข้มข้นปริมาณ 30 ซีซี ผสมน้ำเปล่า ปริมาณ 70 ซีซี และการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว ณ จุดดูแลผู้ป่วย หลังการได้รับน้ำหวาน 2 ครั้งที่เวลา 15 นาที และ 1 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio (OR)
ผลการศึกษา พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นหลังได้รับน้ำหวาน 15 นาที และ 1 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 48.62 และ 106.62 มก./ดล. ตามลำดับ ดังนั้นน้ำหวานชนิดเข้มข้น 1 ซีซี จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 1.62 และ 3.55 มก./ดล. ตามลำดับ โดยระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยหลังได้รับน้ำหวาน 1 ชั่วโมงที่มากกว่าหรือเท่ากับ 180 มก./ดล. เท่ากับร้อยละ 38.20 ส่วนปัจจัยร่วมของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังได้รับน้ำหวาน 1 ชั่วโมง มากกว่าหรือเท่ากับ 180 มก./ดล. ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคติดเชื้อ มีความเสี่ยงสูงขึ้น 4.306 เท่า (OR=4.306, 95%CI=1.066-17.389, p<.05) โรคหัวใจมีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.232 เท่า (OR=0.232, 95%CI=0.058-.938, p<.05) และโรคไตวายเรื้อรังมีความเสี่ยงสูงขึ้น 0.131 เท่า (OR=0.131, 95%CI=0.026-.647, p<.05)
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อปี 2559-2560 (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง) [อินเตอร์เน็ต].2562 [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563] เข้าถึงจากhttp://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.
World Health Organization. The top 10 causes of death [Internet].2018 Retrieved 6 January, 2020 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death.
DeFronzo, R., Ferrannini, E., Groop, L. et al. Type 2 diabetes mellitus. Nat Rev Dis Primers 1, 15019. https://doi.org/10.1038/nrdp.2015,19
Kharroubi, A.T., & Darwish, H.M. Diabetes mellitus: The epidemic of the century. World Journal of Diabetes 2015, 6(6):850-867. doi:10.4239/wjd.v6.i6.850
อรพินท์ สีขาว. การจัดการโรคเบาหวาน: มิติของโรคและบทบาทพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. (หน้า 92-93). สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2561.
Pratiwi, C., Mokoagow, M. I., Kshanti, I. A. M., & Soewondo, P. The risk factors of inpatient hypoglycemia: A systematic review. Heliyon 2020; 6(5):1-6.
พรเทพ วัฒนศรีสาโรช, ละออง สาลีพวง, & สุวรรธนา จงห่วงกลาง. ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลใน เลือดต่ำของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลกบินทร์บุรี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 13(3):51-60.
Belendez, M., & Mijares, H.A. Beliefs about insulin as predictor of fear of hypoglycemia. Chronic Illness 2009; 5:250-256.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวช ปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2560.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39:175-191.
Cohen, J. Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychol Bul 1992; 112(1):155-159.
Burns, N., & Groove, S. K. The practice of nursing research: appraisal, synthesis, and generation of evidence. St. Louis: Saunders Elsevier; 2009.
Gupta, K.K., Attri, J.P., Singh, A., Kaur, H. & Kaur, G. Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials!. Saudi Journal of Anesthesia 2016; 10:328-331.
Carnovale, C, Gringeri, M, Battini, V, Mosini, G., Invernizzi, E., Mazhar, F., Bergamaschi, F., Fumagalli, M., Zuccott, G., Clementi, E., Radice, S., Fabiano, V. Beta-blocker-associated hypoglycaemia: New insights from a real-world pharmacovigilance study. Br J Clin Pharmacol 2021; 87:3320–3331. doi.org/10.1111/bcp.14754.
กานต์ชนก สุทธิผล. ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2565; 5(2):1-12.
ธิติพันธ์ ธานีรัตน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้า ระดับน้ำตาลในเลือดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที 2 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก คลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
Galicia-Garcia, U. et al. Pathophysiology of Type 2 Diabetes Mellitus. International Journal of Molecular Sciences 2020; 21, 6275, doi:10.3390/ijms21176275
Whitmer, R.A., Karter, A.J., Yaffe, K., Quesenberry, C.P., & Selby, J.V. Hypoglycemia episodes and risk of dementia in old patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of The American Medical Association 2009; 301(15):1565-1572.
Ferry, R.J. Hypoglycemia symptoms [Internet].2009 Retrieved August 24, 2020, from http://www.emedicinehealth.com/lowblood_sugar_hypoglycemia/page3_em.html
Jan, IS., Tsai, TH., Chen, JM., Jerng, JS., Hsu, HF., Hung, PL., Hsueh PR., & Lee, LN. Hypoglycemia associated with bacteremic pneumococcal infections. International journal of infectious diseases 2009; 13(5): 570-576.
Chávez-Reyes, J. et al. (2021). Susceptibility for some infectious diseases in patients with diabetes: the key role of glycemia. Front Public Health 2021; 9, 559595. doi: 10.3389/fpubh.2021.559595
อภิชาติ วิชญาณรัตน์. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) [อินเตอร์เน็ต]. มปป. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก https://www.takeda.com/4ab4fd/siteassets/media/th-th/cvm/patients/pdf/pdf-ct-7.pdf
รุ้งนภา เต็งไตรสรณ์. Drugs induced hyperglycemia. วารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน 2562; 18(104),63-72.
Chaowalaksakun, P., Nantachaipan, P., Kunawiktikul, W., Panuthai, S., Kosachunhanun, N., Turale, S. Action research: development of a diabetes care model in a community hospital. Pacific Rim Int J Nurs Res 2016; 20(2):119-131.
Kanan, P., Piaseu, N., Malathum, P., Belza, B. Predictors of diabetes self-management in older adults with poorly controlled type 2 diabetes mellitus. Pacific Rim International Journal Nursing Research 2019; 23(4):357-367.