ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • นภาภรณ์ ศรีวรชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลตนเองเบื้องต้น, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  ที่มารับบริการในโรงพยาบาลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  ดำเนินการวิจัยโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่นอนในโรงพยาบาลปลาปากจำนวน 31 คน  คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และสถิติทดสอบที
     ผลการศึกษาพบว่า1 ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ก่อนพบว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ระดับพอใช้ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ระดับดีซึ่งสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม  ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน  ในกลุ่มทดลองก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการวิจัยพบว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเป็นบางครั้ง  หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเป็นประจำ  ตามสมมุติฐานว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มทดลอง  มีพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.“รายงานประจำปี 2565”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual.(26 May. 2020.

โรงพยาบาลปลาปาก. ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2565. นครพนม: งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ,2565.

Brandit, & Weinert,The relationship between social support and depression in adolescents. Journal of Child and Adolescent Psychiatric Nursing, 1985, 4.1: 20-24.

กฤษณา คำลอยฟ้า.พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา, วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล Vol. 17 No. 1: มกราคม-มิถุนายน 2554.

Orem, D.E. (1991). Nursing Concepts of Practece (2nd ed). New York: Mc Grawbill. Book Company. International Diabetes Federation. (2017). IDF Diabetes Atlas 8th Edition 2017 Country.

คะนึงนิด พาที. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสาร รพ.นครพนม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 14, 2561.

กิเริ่น โซนี่, นลวันท์ เชื้อเมืองพาน, ภัทรี มณีรัตน์และอรทัย มหาวงศ์นันท์. (2560). ผลของการให้ความรู้โรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นรายกลุ่มเทียบกับรายบุคคล ณ หน่วยบริการปฐมภูมิและคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร, 9(2), 21-22.

Pender, N. J. Health Promotion in Nursing Practice/Nola J. Pender, with a contribution by Albert R. Pender. 2nd ed. New York : Appleton & Lange,1987.

Cobb,S. (1976). Social support as moderate of Life stress. Phychosomatic Medicine.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30