การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รักชนก สิงห์พานิชย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยพิเศษสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน, การพยาบาลมารดาระยะคลอด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด วิธีการศึกษาโดยทำการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 2 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ประเมินผู้ป่วยโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ร่วมกับการใช้กระบวนการพยาบาล
     ผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษาที่1 เป็นสตรีตั้งครรภ์อายุ 39 ปี ตั้งครรภ์ G5P2A2L2 อายุครรภ์ 30+5 สัปดาห์ ตั้งครรภ์ร่วมกับมีรกเกาะต่ำภายหลังให้การพยาบาลให้ยายับยั้งการคลอดสามารถยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดได้สำเร็จ สตรีตั้งครรภ์นอนโรงพยาบาลทั้งหมด 5 วัน สามารถกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้ กรณีศึกษาที่ 2 เป็นสตรีตั้งครรภ์อายุ 32 ปี G3P1A1L1 อายุครรภ์ 34+4 สัปดาห์ ตั้งครรภ์ร่วมกับตั้งครรภ์แฝดภายหลังการดูแลให้การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ได้รับยายับยั้งการคลอดจนถึงอายุครรภ์ 37+1 สัปดาห์ สตรีตั้งครรภ์ได้รับการผ่าตัดคลอดทารกคลอดน้ำหนัก 2,510 กรัม และ 2,460 กรัม ย้ายไปดูแลต่อยังหออภิบาลทารกแรกเกิด อาการปลอดภัยทั้งแม่และลูก สรุปนอนโรงพยาบาลทั้งหมด 21 วัน

References

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2566). การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด: แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2565-2567.

ชลทิชา รักษาธรรม. (2561). แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2565. กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก. Available at: https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/ report.php?source=formatted/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=ecdbfc8b4725386c34623ce9 9f0f4b8d (Accessed on 25 March 2024).

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ศิริภรณ์ เหมะธุลิน, พิมลพรรณ อันสุข และพรรณยุพา เนาว์ศรีสอน. (2563). การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: บทบาทพยาบาล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(2); หน้า 238-245.

ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย, Tirawan Buayaem, Piengbulan Yapan, Suchitra Pongprasobchai (2562). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/56869.

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.

Orem DE. Nursing: concepts of practice. 6th ed. Saint Louis: Mosby; 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30