ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ผู้แต่ง

  • ธัญธนาภา สีสถาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
  • สุวรา ทองเลิศ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก, การวางแผนจำหน่าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (One Group Pretest-posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ และพฤติกรรมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด และผู้ป่วยเด็กโรคหืด ที่มีอายุ 1-5 ปี ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม1 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จำนวน 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2566 ถึงเดือน มกราคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล แบบประเมินความรู้ของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก แบบประเมินพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired Simple t-test เปรียบเทียบความรู้ และพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ผลการวิจัย พบว่า หลังจัดกระบวนการวางแผนจำหน่ายโดยการสอนความรู้ให้ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก ผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก ก่อนการสอน เท่ากับ 7.88 (S.D. = 0.60) และหลังการสอนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.84 (S.D. = 0.37)  เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก ก่อนการสอน เท่ากับ 2.68 (S.D. = 0.04) และหลังการสอนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.97 (S.D. = 0.03) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.013)

References

เอกนิษฐ์ กมลวัชรพันธ์. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุ 0-5 ปี โดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2556; 12 (2): 164-176.

ปริศนา แผ้วชนะ และวีณา จีระแพทย์. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืดโรงพยาบาลตาขุน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557; 26: 61-69.

ปริญญาพร ไหมแพง. ประสิทธิผลการดูแลรักษาของคลินิกโรคหืด อย่างง่ายในเด็กโรงพยาบาลหล่มสัก.วารสารกรมการแพทย์ 2559; 41 (3): 83-91.

Ayfer Ekim. Efficacy of a Transition Theory-Based Discharge Planning Program for Childhood Asthma Management. International Journal of Nursing Knowledge. 2016; 27: 70-77.

นงพิมล นิมิตรอานนท์. การเตรียมจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล: แนวคิดและแนวปฏิบัติทางการพยาบาล.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2560; 23: 501-509

กิ่งกาญจน์ ชุ่มจำรัส และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และความพึงพอใจของผู้ดูแลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5: 124-133.

พรทิภา ธิวงศ์, อารี ชีวเกษมสุข และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด. วารสารพยาบาล. 2562; 69 (2): 21-29.

ประดับเพชร เจนวิพากษ์. ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ของผู้ดูแลและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่องานผู้ป่วยในกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่ออ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2565; 26: 164-177.

แนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยเด็ก, 2564 สืบค้นจาก (Internet). 2023 Oct. Retrieved from https://allergy.or.th/2016/pdf/2021/Final-Thai-Pediatric-Asthma-Guideline-2021_AAIAT-TPRC_Full_Version_24Jun2022.pdf

Lin, Cheng, Shin, Chu, & Tjung. Discharge Planning. International Journal of Gerontology. 2012; 6: 237-240.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30