การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ที่มีภาวะแทรกซ้อน : เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ไตเรื้อรัง, น้ำตาลในเลือดสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การศึกษานี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพยาบาลดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถ ควบคุมน้ำตาลในเลือดและมีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย กรณีศึกษารายที่ 1 เบาหวานมีโรคร่วม โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 โรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษารายที่ 2 เป็นเบาหวานมีโรคร่วม โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ในประเมินค้นหาปัญหา และใช้หลักกระบวนการทางการพยาบาลในการดูแล
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญของความรุนแรงของการดำเนินของโรค ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานหากเกิดพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมเป็นตัวกำหนดทำให้สุขภาวะดีขึ้นหรือส่งผลในด้านตรงข้าม ผู้ป่วย และญาติที่เป็นผู้ดูแลยังขาดความรู้การตระหนักความสำคัญในการจัดการตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด และการใช้ยาและการดูแลภาวะแทรกซ้อน จากปัญหาดังกล่าว พยาบาลจึงเป็นผู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย และการจัดการเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ
References
กัลยากร ลักษณะเลขา, สมสมัย รัตนกรีฑากุล และ สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2560). ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมและระดับน้ำตาลตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
เฉล่าศรี เสงี่ยม. หลักการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคบาหวาน ใน: สำรัช สุนทรโยธิน, ปฏิณัฐ บูรณะ ทรัพย์ขจร, บรรณาธิการ. Diabetes Mellitus ตำรับโรคเบาหวาน พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555. หน้า 60-66.
ญาณิสรา ปินตานา. (2560). ผลโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร
วสันต์ พนธารา. ผลการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลตากฟ้า. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2563; 17(2): หน้า 43-51.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. (2566) แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานครศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.
ประกาย จิโรจน์กุล. แนวคิดทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2556.
วนิดา ศรีริภาพ. พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารศาสตร์สุขภาพ และการศึกษา. (2564) 24; 1(2) หน้า 57-68
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 Clinical practice guideline for Diabetes 2023. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด; 2566.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562) แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป กรุงเทพมหานคร : ทริคธิงค์ สำนักพิมพ์.
สุรีพร คนละเอียด. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย