การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลระบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ระบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development)เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลระบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลหนองหาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 11 คน และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 45 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการทบทวนการดูแลผู้ป่วย แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(x̄) ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงต้องช่วยชีวิตที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าผู้ป่วยเสียชีวิตในหอผู้ป่วย ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการติดตามอาการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงด้วยแบบประเมินสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยสามัญ (SMEWS) และการรายงานแพทย์ตามแนวทางการสื่อสารแบบเอสบา (SBAR) ระยะที่ 3 ความเห็นของพยาบาลต่อความเป็นไปได้ในการใช้ SMEWS โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.86, S.D. = 0.19)
References
จุรีรัตน์ เกิดโสฬส. กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลันกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลวังหิน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มกราคม -เมษายน 2563; 3(1).58-62.
นิตยาภรณ์ จันทร์นคร. ทัศนีย์ แดขุนทด. อุไรวรรณ ศรีดา-มา, ปิยนุช บุญกอง. การพัฒนารูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยหนัก วัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารกองการพยาบาล [อินเทอร์เนต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 2022 Jan 3];47:39-60. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci thaijo.org/index.php/JND/article/view/242610/164904
รัชนีย์ พิมพ์ใจชน. (2560). ผลของการใช้รูปแบบเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ได้วางแผนของผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี.ม.ป.ท. ม.ป.พ.
รุจา ปิ่นน้อย, พรนภา บุญชูเชิด, นภารัตน์ บัวลาดและจินตนา ทองเพชร. (2564).การพัฒนาระบบการประเมินเพื่อเฝ้าระวังอาการทรุดลงด้วยแบบบันทึกสัญญาณเตือน พระจอมเกล้ามิวสกอร์ ในผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมอง.วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(3), 72-88.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 Hospital and healthcare standards5thedition. กรุงเทพฯ: ก.การพิมพ์เทียนกวง จํากัด
สมไสว อินทะชุบ. ประสิทธิผลการใช้ MEWS ( SOS Score)ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี.มกราคม -เมษายน 2560; 25(1).90-91.
อัจฉรา คำมะทิตย์ และมัลลิกา มากรัตน์. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: วิธีการปฏิบัติทีละ ขั้นตอน Using the Systematic Review to Provide a Complete Summary on a Research Question in Evidence–Based Practice: A 3–Step Method. ว. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(3):246–59
Baines, E.&Kanagasundaram, N.S. (2008). Early Warning Scores. British Medical Journal,16(7), 294-336.
Chuaychang,S. (2018). Effects of using the assessment of the modified early warning signs (MEWS) in the assessment and monitoring change symptom of patients in cardiac catheterization lab, Trang hospital. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursin,29(1), 72-83.
Duncan K D., McMullan C, Barbara M Mills. Early warning signs. Nursing. 2012;42(2): 38-44.
Early Detection andTreatment of Sepsis สืบค้นได้จาก https://www.google.com/search?q=early + detection เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2563.
Gardner-Thorpe,J., etal. (2006). The Value of Modified Early Warning score (MEWS) in surgical In-patients: A prospective observational study. Annals of the Royal College of Surgeons of England, 88, 571-575.
Jayasundera R, Mark Neilly M, O Smith T, Myint PK. Are Early Warning Scores Useful Predictors for Mortal-ity and Morbidity in Hospitalised Acutely Unwell Older Patients? A Systematic Review. J Clin Med. [Internet]. 2018 [cited 2022 Jan 3] ; 7(10): 309. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30274205.
Kaewsingha, P., Akavipat, P., Prasertsong, K., &Pannak, S. (2012). Neurosurgical Intensive Care Unit ffective outcomes measurement with AcutePhysiology and Chronic Health Evaluation(APACHE)III. Medical Journal of SrisaketSurinBurirum Hospital, 27(3), 205-216.
Mehtap B,etal. (2013). The comparison of modified early warning score with rapidEmergency medicine score: a prospective multicenter observational cohort studyon medical and surgical patients presenting to emergency department. Emergency Medicine Journal, 31(6), 476-481.
MehtapBulut, et al. The comparison of modified early warning score with rapid emergency medicine score: a prospective multicentre observational cohort study on medical and surgical patients presenting to emergency department. Emergency Medicine Journal 2013;476-81.
Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention in fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001.
RoyalCollege of Physicians. National Early Warning Score (NEWS) 2 :Standardizing the assessment of acute-illness severity in the NHS. Updated report of a working party. London: RCP;2017
Semico, M. (2009).TheUse of Modified Early Warning Scores by a Rapid Response Team forThe Purpose of Code Reduction in the Non-ICU Patient Population.ANCC National Magnet Conference. Retrieved January19, 2021fromhttps://www.who.int/topics/cardiovascular_diseases/en/
SuthasineePungfu.Development of specific competencies of professional nurses in caring for critically ill patients after laparoscopic surgery. Rajavithi Hospital Journal of the Department of Medical Services. 2018;43(3):131-137. Thai
Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS) Updated: Nov 12, 2020สืบค้นได้จากhttp://emedicine.medscape.com/article/169640-overview (2014,may 28) เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2563.
Wang AY, Fang CC, Chen SC, Tsai SH. Periarrest Modified Early Warning Score (MEWS) predicts the outcome of in- hospital cardiac arrest. J Formos Med Assoc. [Internet]. 2016[cited 2022 Jan 10] ; 115(2): 76-82. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26723861
World Health Organization. (2020).Cardiovascular Diseases. RetrievedJanuary19, 2021fromhttp://www.who.int/topics/ cardiovascular diseases/en/.